มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน

Main Article Content

ศิพร โกวิท
พรทิพย์ วงศ์ผดุง
ศราวุธ โสมะเกษตริน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำและไม่กระทำผิดซ้ำภายหลังเข้ารับการฝึกและอบรมจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆในกระบวนการยุติธรรมและภาคประชาสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย เจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน โดยการคัดเลือกเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ มีกฎหมายหลายฉบับ โดยมีพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เป็นกฎหมายหลัก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน ได้แก่ สภาพครอบครัว สภาพจิตใจ การได้รับโอกาสจากสังคม และ กระบวนการแก้ไขฟื้นฟูของหน่วยงาน 3) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากร งบประมาณ และความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานฯ โดยมีแนวทางการบูรณาการทำงาน ได้แก่ การส่งต่อและการบูรณาการข้อมูลของเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยการวางแผนติดตาม ให้สถานศึกษา สถานประกอบการ และชุมชนรับช่วงต่อหลังปล่อยจากศูนย์ฝึกและอบรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bakal, W. (2016). Legal Measures Regarding Juvenile Control to Prevent Recidivism of Observation and Protection Centers. Academic Journal of Uttaradit University, 11(1), 206-220.

Chitsawang, S. et al. (2017). Evaluation of judicial proceedings under the Establishment of the Juvenile and Family Court and juvenile and family court proceedings 2010. Journal of Social Sciences, 47(1), 171-192.

Department of Juvenile Observation and Protection. (2018). Case statistics report of the Department of Juvenile Observation and Protection, 2018. Retrieved November 10, 2018, from http://djop.go.th/.

Jiramongkolphanich, P. (2018). Law of the nature of witnesses. Bangkok: Thammasat University.

Kunaraksa, K. (2012). Development of a form of drug recidivism: a case study of juvenile observation and protection center. (Doctoral Dissertation). Graduate school. Silpakorn University. Bangkok.

Kittisuphakarn, S. (2018). Explanation of the Juvenile and Family Court Act and Procedures for Juvenile and Family Litigation 2010. (2nd ed.). Bangkok. Amarin Printing and Publishing.

Na Nakorn, T. (n.d). Life Subject. Bangkok: Documentary Publisher.

Ritididit, B. (2010). Principles of legal proceedings in juvenile and family court. (3rd ed.). Bangkok: A reasonable person.

Suchavee, U. (n.d.). Criminology theory and criminal justice process. Bangkok: VJ Printing Limited Partnership.

Theeraphan, P. (2018). The Concept Appears in Criminal Justice for Children and Youth in Thailand. Bangkok: The rule of law.