การพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

ณัฏฐ์ชยธร มุขสุดาชัยสิริ
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการความจำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) 
3) เพื่อนำเสนอหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการศึกษาจากเอกสาร และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก  1) กลุ่มนักเรียนครูสติ 12 รูป/คน 
2) กลุ่มพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญหลักสูตร 6 รูป/คน 3) กลุ่มทรงคุณวุฒิ 5 รูป/คน 4)กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ/ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน  


         ผลการวิจัยพบว่า


1) ความต้องการ โดย SWOT ANALYSIS ทั้ง 6 ด้าน พบว่า 1) ด้านเนื้อหาสาระวิชาการ 
2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 4) ด้านสื่ออุปกรณ์สนับสนุนการศึกษา 
5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษา 6) ด้านคุณสมบัติผู้สอน พบว่ามีจุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาสพัฒนา  และอุปสรรค ที่สำคัญ แตกต่างกันในแต่ละด้าน สามารถนำมาวิเคราะห์พัฒนาหลักสูตรได้


2) ลักษณะของหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต แบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ 1) แนวคิด (Concept) ครบถ้วนทุกรูปแบบ หลัก 2) เนื้อหา (Content) ควรครบถ้วน ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 3) บริบท (Context) บรรยากาศแวดล้อมในการเรียนการสอน ควรมีความเหมาะสม 4) การสื่อสาร (Communication) การสื่อสาร ที่ดีทั้งผู้สอนและผู้เรียน


3) หลักสูตรสติศึกษาควรมีการพัฒนาจนเกิดองค์ประกอบที่สมบูรณ์ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) มีความเป็นพลวัฒน์ (Dynamics) 2) มีความเป็นสากล (International) 3) มีความเป็นสหสาขา (Interdisciplinary) 4) มีความเป็นบูรณาการ (Integration)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the National Economics and Social Development Council. (2018). National Strategy 20 years Summary. Retrieved March, 20, form http://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_ SumPlanOct2018. pdf.

Phra Pramote watagovitho. (2016). “ A Model of "Dhamma Od" for Strengthening Peaceful Organizations”,Thesis Master of Arts, Graduate school: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phrakhrupaladsampipattanadhammachan. (2018). A Competency Model of Insight Meditation Masters Based on Buddhist Psychology. Journal of Graduate Studies Review, 14(3), 136-147.

Phrakhrubhawanawiriyanuyok. (2018). A study of The Patterns of the Temple Development to the Vipassana Meditation Center. Buddhist Research Institute of MCU. Report of thai society Quarter 1 Year 2019. (2019). Retrieved October 12, 2019. http://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents/Socialreport%20Q1-2562_2286.pdf.

Bandasak, T. (2016). “Being a student in the 21st century: A viewpoint from Phra Phutthabat Rajathanee Nursing College teacher”. Journal of Peace Studies, 4(2)

Srisaearn, W. (1996). “The definition of education” Teaching materials course set Fundamental education, unit 6 Philosophy and education. Bangkok: Sukhothai Thammathirat University Publisher.