โรงเรียนสันติภาพ: ศึกษาและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และผลกระทบความขัดแย้งของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษากระบวนการไกล่เกลี่ยของสำนักงานศาลยุติธรรมและพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสานวิธี ศึกษาทั้งเอกสารและรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 25 คน ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบของความขัดแย้งของนักเรียน สร้างและพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการ และ วิจัยเชิงทดลองนักเรียนจำนวน 10 คน วิเคราะห์นำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
- ปัญหาความขัดแย้งของนักเรียนของนักเรียนมี 2 ระดับ คือ การทะเลาะวิวาทด้านคำพูด และการทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 1.1) สภาพทางครอบครัวที่ยากจน หย่าร้าง 1.2) พฤติกรรมเบี่ยงเบนของเด็ก เช่น ความมีอคติต่อกัน การรักพวกพ้อง เป็นต้น 1.3) สภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และ 1.4) สารเคมีในร่างกาย
- กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสำนักงานศาลยุติธรรมและพระพุทธศาสนาเถรวาทมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน สําหรับความคล้ายคลึงคือ การไกล่เกลี่ยเป็นกระบวนการแก้ปัญหาข้อพิพาทโดยมี บุคคลที่สามเข้ามาช่วยเหลือเพื่อระงับข้อพิพาท ส่วนความแตกต่างคือวิธีพิจารณานั้นมีบางส่วนที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจาก ระบบกฎหมายที่แตกต่างกัน
- กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธบูรณาการของโรงเรียนบ้านโพหวาย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนใหญ่ คือ 1) การเตรียมความพร้อม และสร้างความไว้วางใจ 2) ตั้งสติและปรับอารมณ์ 3) การวิเคราะห์และค้นหาสาเหตุความขัดแย้ง 4) การจัดการปัญหาความขัดแย้ง 5) การหาทางออกหรือข้อตกลงร่วมกัน และ 6) เสริมสร้างความสัมพันธ์ ให้คู่กรณีทำกิจกรรมร่วมกัน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Ban Pho Wai School. (2020). Education Management Information System: EMIS. Retrieved October 3, 2019, from https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.php?School_ID=1084640010&Area_CODE=8401
Ciradhammo, P. T. (2013). An Analytical Study of the Buddha’s Strategy in Solving the Youth Violence. Dissertation Doctor of Philosophy (Buddhist Studies). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Chaimat, W. (2019). Education Management Information System. Interview. November, 19.
Chainarong, K. (2019). Education Management Information System. Interview. November, 22.
Chonlasakorn, S. (2019) . Education Management Information System. Interview. November, 22.
Jokkaew, S. (2013). Mediation of disputes according to the principles of Buddhism. in Religious principles and mediation of disputes Version 1.2. Bangkok: Active Print Company Limited.
Jeenkaewpiem, T. (2011). Violence of Children and Youth: A Case Study of The Regional Juvenile Vocational Training Center of the South. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 7(2), 106-135.
Kanbut, P. S. (2018). Conflict Management Model in Buddhism: Analysis from the Tipitaka. Ph.D. Dissertation. Siam University.
Kodee, R. (2019). Education Management Information System. Interview. November, 19.
Makkarapilom, P. (2011). Theories of peace, conflict and Violence. Nakornpathom: Mahidol University.
Office of the Judiciary Office of Judicial Affairs. (2017). Conflict management. Bangkok: Office of Judicial Affairs Office of the Judiciary.
Ongad, K. (2019). Education Management Information System. Interview. November, 19.
Phramaha Hansa Dhammahaso. (2011). A peaceful Buddhist way. Bangkok: 21 century Ltd.
Pratheuangpanya, C. (2019). Factors Leading to the Success of Mediation in Schools. Nida development journal, 58(3), 3-22.
Phrommanee, Y. (2019). The Skill of Human Resource of Header:Conflict resolution. Retrieved October 3, 2019, from http://www.chumsaeng.go.th/news/a_110817_025259.pdf.
Tiensongjai, C. (2007). Negotiation Mediator in Theravada Buddhism: Study on the conflicts among Buddhist monks in Kosamphi. Dissertation Doctor of Philosophy (Buddhist Studies). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Tupwong, C. (2015). The Mediator Handbook. Bangkok: Office of the Permanent Secretary for Public Health.
Susaorat, T (2015). Madiation Online. Retrieved May 3, 2020, from https://appealsc.coj.go.th//Mediation_Online_M.pdf.
Sompong, S. (2016). A Critical Analysis of Communication Pattern for Peace in the Online Media by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Komchadluek. Net. Journal of MCU Peace Studies, 4 (1), 137-154.
Waisaya, S. (2019). Cause of conflict. Interview. November, 20.