สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จรูญศรี มีหนองหว้า
ไพรวัลย์ โคตรตะ
กชพงศ์ สารการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผู้วิจัยเรื่องกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้สอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ โดยนำเสนอวัตถุประสงค์ข้อแรก คือ ศึกษาสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่ายเป็นอาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาล 6 แห่ง 169 คน ใช้แบบสอบถามการรับรู้คุณลักษณะของอาจารย์ในการเป็นนวัตกรทางสุขภาพ และแบบทดสอบความรู้เรื่องการคิดเชิงนวัตกรรมของอาจารย์ ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพเลือกแบบเจาะจงเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการแต่ละวิทยาลัย 6 คนและอาจารย์ 12 คน ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์มีการรับรู้คุณลักษณะการเป็นนวัตกรทางสุขภาพระดับมากที่สุด และมีความรู้เรื่องการคิดเชิงนวัตกรรมระดับปานกลาง  ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า จุดแข็ง คืออาจารย์เชื่อว่าการทำนวัตกรรมเป็นวงจรคุณภาพ ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและผู้เรียน และคำนึงถึงมาตรฐานและคุณภาพ จุดอ่อน คืออาจารย์ไม่มั่นใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มั่นใจว่านวัตกรรมจะสร้างมูลค่าได้ และสร้างเครือข่ายทำงานน้อย โอกาส


คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อการบริหารจัดการ และมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อุปสรรค คือการถูกจำกัดอัตรากำลังอาจารย์ และข้อจำกัดระเบียบการเงินของราชการ ซึ่งมีแนวทางพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาโดยพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการสอนการคิดเชิงนวัตกรรม และพัฒนาปัจจัยเสริม ได้แก่ การบริหารจัดการองค์กร การบริหารหลักสูตร และการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ayob, A., Hussain, A., & Majid, R.A. (2013). A Review of Research on Creative Teachers in Higher Education. International Education Studies, 6(6), 8-14.

Bloom, B.S. (1964). Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay.

Boonyam, T, Chuawanlee, W, Supparerkchaisakul, N, & Anurit, P. (2011). The Multi-Level Causal Factors Influencing Individual and Group Innovative Behavior for Making Product Innovations in Thai Private Companies. Journal of Behavioral Science, 17(2), 69-84. Retrieved May 3, 2019, from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/353

Chamchoy, S. (2011). Concept of Innovation for School Management in the 21st Century. Journal of Education Naresuan University, 14(2), 117-128.

Chan, Z.C.Y. (2013). A systematic review of creative thinking/creativity in nursing education. Nurse Education Today, 33(11), 1382-1387.

Chirawatkul, S. (2003). Qualitative study in nursing. Khon kaen: Siripan offset.

Haruthai, C. (2014). The Strategies’ Development of National Nursing Service System from the Year 2013 to 2016. Journal of Nursing and Health Care. 32(2), 57-69.

Nursing Division, Ministry of Public Health. (2018). Strategies of Nursing Services: National level 2517 – 2021 according to 20 years of the national strategic plan. Retrieved December 7, 2018 from http://www.nursing.go.th/Book_nurse/strategic_20/0001.pdf

Pathrawart, K. (2012). Proceeding of Seminar on Education Moving for Thailand Economy 4.0. (2016). Retrieved March 3, 2017. from http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1113

Polit, D.F., & Beck C.T. (2008). Nursing research: Generating and assign evidence for nursing practice. 8th ed. Philadelphia: Lippincott.

Praboromarajchanok Institute. (2019). Strategies of Praboromarajchanok Institute, Higher Education Institute under the Jurisdiction of MOPH 2020 – 2024: KPI Template Manual. Bangkok: PBRI

Prajan, O. & Chaemchoy, C. (2018). Administrative Model for Development Teacher’s Innovative Thinking Skills in the Basic Educational School. FEU Academic Review, 12(1), 156-169.

Sutthawart, W. & Chuntuk, T. (2016) . Educational Innovator’s Potential Development Method. Veridian E-Journal Silapakorn University, 9(1), 748-767.

Sutthawart, W. & Pasunon, P. (2015). Factors Affecting Individual Innovative Behavior in The Office of Basic Education Commission. Veridian E-Journal Silapakorn University, 8(1), 530-545.