ทัศนคติ การรับรู้ แนวโน้มเชิงพฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการรักษาวัตถุพยาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย

Main Article Content

สมชาติ เกุตพันธ์
ณิช วงศ์ส่องจ้า
ณรงค์ กุลนิเทศ
ทศพล ชูโชติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของทัศนคติ การรับรู้ แนวโน้มเชิงพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการรักษาวัตถุพยานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย 2) วิเคราะห์ปัจจัยความสัมพันธ์ของทัศนคติ การรับรู้ แนวโน้มเชิงพฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการรักษาวัตถุพยานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน วิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัดนครปฐม จำนวน 336 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของทาโร ยามาเน่ แบบมีระบบตามสัดส่วน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการเก็บรักษาวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ จำนวน 12 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า ทัศนคติ การรับรู้ และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด แนวโน้มเชิงพฤติกรรมใน การปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมในการรักษาวัตถุพยานอยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมากที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการรักษาวัตถุพยานผลการวิเคราะห์โดยรวมค่าดัชนีวัดความกลมกลืนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากขึ้น เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่แสดงถึงความสอดคล้องของแบบจำลอง และข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีมาตรฐานอยู่ในระดับดีมาก ผลที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Allen, R., & Santrock, J. W. (1993). Psychology: The Contexts of Behavior. USA.: Wm. C. Brown Communication.

Arnstein, S.R. (1995). Classic readings in urban planning. A Ladder of citizen participation. In J.M. Stein (ed.), New York : McGraw-Hill.

Boonchaloemwipas, S. (2012). Forensic Medicine and Medical Law. Bangkok: Winyuchon Publication House.

Chamsuwannawong, A. et al. (2009). Forensic science 1 for crime investigation. (6thed). Bangkok: G.B.P Center.

Chiamjetcharoon, J. (2007). Crime scene and biological evidence. Academic document. Central Police Forensic Science Division, Office of forensic science.

Deming, W. E. (1940). The Original Quality Gurus. Retrieved May 7, 2018, from http://www.businessballs.com/dtiresources/quality_management_gurus_theories.pdf.

Hobson, C. B. (1991). Fire Investigation a new concept. Illnois: Charles C. Tomas Publisher.

Newcomb, (1854). Attitude. Retrieved March 25, 2018, from http://www.novabizz.Ace/Attitude.html.

Suwannasang, K. (2001). General Psychology. (5thed). Bangkok: Aksornwittaya.

Tongtavee, J. (2018). Understanding and opinions of Pitakkarn foundation rescue officers on protection and preservation of physical evidence at crime scenes. (Master’s thesis). Silpakorn University. Bangkok.