รูปแบบการสร้างสันติภาพของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

Main Article Content

พระครูมหาเจิตยารักษ์
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของสังคมไทยและมุมมองด้านสันติภาพของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด วิธีการ และวิถีปฏิบัติในการสร้างสันติภาพของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) และ 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการสร้างสันติภาพของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่นำไปสู่การเกิดสันติภาพในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินงานวิจัย การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่ทำงานใกล้ชิดหรือผู้ได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)          


          ผลการศึกษาพบว่า 1)  มุมมองบริบทปัญหาด้านสันติภาพในสังคม คือ สังคมมีความขัดแย้งเกิดขึ้นทางความคิด ออกมาทางวาจา ทางกายมันก็เกิดการขัดแย้งต่อต้านกัน เกิดเป็นความวุ่นวายในสังคมเล็ก ลุกลามเป็นสังคมใหญ่ชาติ และการสร้างสันติภาพของหลวงพ่อพุทธทาสกล่าวโดยสรุปได้ว่า “เมื่อไหร่ที่เยาวชนมีศีลธรรม
เมื่อนั้นเด็กจะลดความขัดแย้ง" เมื่อไหร่ไม่ยอมกันจะเกิดความขัดแย้ง ความขัดแย้งเกิดจากกิเลส 2) วิธีการ แนวคิด และกระบวนสร้างสันติภาพของของพระธรรมโกศาจารย์ ประกอบไปด้วยรูปแบบย่อย 8 ประการ ดังนี้ การพัฒนาตน การยึดหลักตามปณิธาน 3 เข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา และออกจากวัตถุนิยม ,สัปปายะ 7 สันติเสวนา การสื่อสารธรรมะ ธรรมาธิษฐาน การเทศน์และอบรมและความเรียบง่าย และ 3) ได้รูปแบบ ที่เรียกว่า การสร้างสันติภาพของพระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาสภิกขุ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choikittipan, T. (2016). The Role of Phra Dhammakosajarn (Buddhadassa Bhikkhu) In Peace Building to Thai Society. Journal of MCU Peace Studies, 4(Supplemental Issue), 159-171.

Vadakovido, P. P., Dhammahaso, P. H., & Thinano, P. D. (2019). A Model of Developing an Ideal Expert in Peace by Buddhist Peaceful Means. Journal of MCU Peace Studies, 7(Supplemental Issue), 253-265.

Nonilphet, M. (2019). The Leadership, development of leadership in temple management according to Buddhist principles to the 21st century. Journal of Isan Light, 16 (2), 687-700.

Dhammahaso, P. H. (2017). Dialogue, multicultural society different perspectives. Modern Religious Leadership Development Program Institute of Islamic Leadership Development Chulalongkorn Office.

Jayadhammo, P. W. (2015). The Ways of the Management in Buddhist Temples for Peace According to Sappaya 7: The Case Study of Wat Thannamlai, Suratthani Province. Journal of MCU Peace Studies, 3(2), 98-114.

Charoenwattana, B. & Renumat, M. (2017). Santi Method: Conflict Management in accordance with Santi Method. Bangkok: Publication at Dexex Company Inter Corporation Limited.

Chai Manon, K. (2017). The knowledge management model of Buddhadasa Phikkhu for the propagation of Buddhism. Journal of MCU Peace Studies, 5(1), 128-139.

Kaewchoti Rung N. (2005). Peace according to the concepts of Buddhadasa Phikkhu: Meaning and its application in the present world. Thesis Master of Arts. Graduate School: Thammasat University.

Thiraphan, C. (1979). Ahimsa in the Thought of Mahatma Gandhi. Thesis Master of Arts. Graduate School: Chulalongkorn University.

Suantharachamachari. (2007). An Analytical Study of Art Principles as Perceived by Buddhadasa Phikkhu. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University).

Nattakritthipongkaro. (2014). The role of monks and the creation of peace by Buddhist Santi Method: the case of Ban Huay Nam Khao community, Ban Kao Subdistrict, Mueang District, Kanchanaburi Province. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.