การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ
ไว ชึรัมย์
พระครูศรีปัญญาวิกรม
พระมหาพจน์ สุวโจ
สุวรรณี ฮ้อแสงชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโบราณสถานชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์  2) เพื่อศึกษาจิตสำนึกสาธารณะชุมชนในการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน 3) เพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีเชิงปฏิบัติการโดยลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 49 รูป/คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ดูแลที่เกี่ยวข้อง ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชน และพระภิกษุสงฆ์ ในอำเภอคูเมือง และอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์


ผลการวิจัย พบว่า 1) เสมาโบราณที่มีคุณค่าเป็นโบราณสถานในสมัยทวารวดี รองลงมาเป็นของสมัยขอมเรืองอำนาจ ได้แก่ ศิลปะขอมแบบไพรกเม็ง ที่นับถือพราหมณ์และเสมายุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนเสมาในจังหวัดบุรีรัมย์ มีคติความเชื่อแนวความคิดและเหตุผลในการสร้างคล้ายกันใช้เครื่องหมายเพื่อกําหนดขอบเขตของพระอุโบสถ ซึ่งมีการสำรวจ 7 พื้นที่ เป็นชุมชนโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์ พบโบราณสถานจำนวน 12 แห่ง แต่เลือกศึกษาโบราณสถานที่อำเภอคูเมือง 2) คนในชุมชนมีความตระหนักรู้รับผิดชอบต่อส่วนรวม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณสถาน เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานชุมชนซึ่งโบราณสถานยังบอกถึงความรุ่งเรืองในอดีตของชุมชน ทุกคนควรช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อให้สภาพอากาศดีขึ้น 3) การทำกิจกรรมพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเป็นการกระตุ้นการสร้างพลังชีวิตและแรงจูงใจเสริมสร้างความรู้ต่างๆ ของการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโบราณคดี  รวมทั้งเป็นการสร้างกลุ่มอาสาสมัครเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานชุมชน ให้ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Photisita, C. et al. (2000). A Study of Thai Consciousness in the Public Domain: A Case Study of Bangkok Metropolis Research. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University.

Chaiwat, S. (2007). Teaching children to have public mind. Bangkok: Wiparin.

Chao Sam Phraya National Museum. (2019). Chao Sam Phraya National Museum. Retrieved February 17, 2019, from http://www.museumthailand.co.th.

Khao Kradong Forest Park. (2019). Khao Kradong Forest Park. Retrieved January 10, 2019, from http://www.painaidii.com/business/118614/khao-kradong-forest-park.

Phramaha Chakrajathani Sopee. (2016). The process of enhancing citizenship consciousness according to Buddhism. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phakhru Kaliya sitthiwat. (2005). The participation of monks in the conservation of local culture has been supported by research funds from the Buddhist Research Institute. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Praku Sirirutananuvat. (2018). A Process for the Building of Conscience by Buddhist Arts and Cultures in Thai Society. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Raj, M. (1996). Consciousness. Encycloppedia Dictionary of Psychology and Education. New Delli: Anmol.

Roongrote, T. (2015). Dvaravati in Isan. Bangkok: Matichon.

Siri, k. (2008). Developing Public Consciousness of Secondary School Students: A Case Study of KhonSawan School. (Doctoral Dissertation). Graduate school: MahaSarakham University. MahaSarakham.

Office of Archeology, Fine Arts Department, Ministry of Culture. (2007). Conservation guidelines for monks. Bangkok: Amarin Printing and Publishing PLC.

Office of Archeology Fine Arts Department. (2007). Archeology Operating Manual. Bangkok: Arun Printing Ltd., Part.

Leeramanotham Somdej. (2017). Archeologist Fine Arts Office 10 (Phimai District) Nakhon Ratchasima. Nakhon Ratchasima: Songsiranawat Temple.

Sills, D. L. (1972). Leadership, International Encyclopedia of the Social Sciences. New York: The Macmillan & the Free Press.

Srisuk, V. (1975). “SEMAEASAN”Muanbolan 1(2). Retrieved August 29, 2019, from http://www.sar.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/29.

Thailand Government Organization. (2020). Retrieved April 5, 2020, from http://www.finearts.go.th/inburimuseum/plugins.

The student of Watbanprakreant. (2019). Jerasuk, Nuttanit, Panuvat, Panukorn, as Punasa, Interview, 2019.