กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

พันทา สวัสดี
ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างาน จำนวน 272 คน จาก 34 วิทยาลัย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาครู 2) ด้านการนิเทศ 3) ด้านการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย 4) ด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และ 5) ด้านการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาครูให้มีศักยภาพทางเทคโนโลยีและดิจิทัล กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการนิเทศการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพสื่อมัลติมีเดียสู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนสู่ยุคดิจิทัล กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการในการพัฒนาประเทศด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Addoddorn, Y. (2011). Academic administration strategies of basic education institutions to promoter sustainable development. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Kerdruang, A. (2017). Promoting learning in the 21st century to support Thai society in the digital age. Journal of Lampang Rajabhat University, 6(1), 173-184.

Office of Vocational and Vocational Standards. (2013). Introduction to the Office of Vocational Education Standards and Vocational Diploma 2013 B.E., Bangkok.

Smith, E. W. et al. (1961). The Education Encyclopedia. New Lersey: Prentice-Hall.

Thawonglang, J. (2007). The teacher development of learning manage ment based on child centered approach : a case study of noen sa-ard pittata school under the office of khon kaen educational service area 5. Loei Rajabhat University. Loei.

Tassananon, S. (2011). Theoretical principles and educational administration innovations. (1st ed.) Maha Sarakham: Maha Sarakham University.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Thipkongka.P (2008). Management Model for Vocational Change in Thailand. (Doctoral Dissertation). Graduate school: King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Bangkok.

Demchenko, Y. (1997). Cooperative and Contributive Learning in Professional Education. Retrieved May 3, 2019, from http://www.uazone.org/demch/papers/site98demch.html.

Zorn, A. (2018). Higher education in the digital age: moving academia online. Cheltenham: Edward Elgar Publishing.