รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

กอละกัน คำมะวง
อนุชา เพียรชนะ
มาลี ไชยเสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับครัวเรือนและสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนและผู้ประกอบการในเมืองปากเซ จำนวน 241 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ กลุ่มเป้าหมายคือ คณะกรรมการหมู่บ้านโพนกุงและบ้านหลักเมืองและบุคลากรในหน่วยงานราชการเมืองปากเซ จำนวน 64 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้อยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตอนใต้ ประกอบด้วย 2.1) หลักการจัดการ ประกอบด้วย คน เงิน วัตถุดิบ และวิธีการ/จัดการ 2.2) ระบบการจัดการขยะ ประกอบด้วย วิธีลดการใช้ วิธีนำกลับมาใช้ใหม่ และวิธีนำกลับมาผลิตใหม่ 2.3) การจัดการภาครัฐ 2.4) การปรับเปลี่ยนกฎ กติกาและค่าธรรมเนียม 2.5) การร่วมทุนในการบริหารจัดการน้ำระหว่างภาครัฐและเอกชน และ 2.6) การทบทวนกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กอละกัน คำมะวง, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

0862473058

References

Agricultural & Forestry Office. (2018). Performance report 2018. Pakse: Agricultural and Forestry Office.

Butsrakham, B. (2005). A Study of the Behavior on Using Water of People in the Area of Huay Luang Lrrigation Project and Maintenance Project of Huay Luang Reservior in Chiang Pin, Muang District, Udonthani Province. (Master’s Thesis). Graduate School: Rajabhat Mahasarakham University. Mahasarakham.

Karnjiradet, T. (2018). A Model of Community Participation in Water Management in Uthai Thani Province according to the Philosophy of Sufficiency Economy. Journal of MCU Peace Studies. 6(2), 537-552.

Maiprasitkul, P. (2015). Integrative Water Administration Model Based on Local Wisdom of Communities Surrounded Kwan Phayao, Phayao Province. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Chiang Rai Rajabhat University. Chiang Rai.

Niemnok, W. (2003). Participation of Water User Groups in Chanthaburi Irrigation Project: A Case Study of Wang Tanot Water User Groups Chanthaburi Province. (Master’s Thesis). Graduate School: Krirk University. Bangkok

Phasukwong, S. (2000). Water Management. Bangkok: Department of Water Resources.

Phongwattanakun, P. (2008). People Participation in the Conservation of Natural Resources

and Environment of Mon Nang Subdistrict Municipality, Phanat Nikhom District,

Chon Buri Province. Chon Buri: Burapha University.

Planning & Investment Department. (2016). Annual Statistics 2014-2015. Champasak: Champasak Provincial Statistical Center.

Saikaew, W. (2016). Sanitation technology. Ubon Ratchathani: Faculty of Science Ubon Ratchathani Rajabhat University.

Serirat, S. (2009). Modern Marketing Management. Bangkok: Dharmasarn Printing Company.

Sriphongsa, U. (2017). Water Management Model for Agriculture at the Household Level during the Dry Season Ban Sing Subdistrict, Nang Rong District, Buriram Province. Buriram: Buriram Rajabhat University.

Thamsarn, P. (2019). The Development Model of Agro-tourism Management of Ubon Ratchathani Province. Journal of MCU Peace Studies. 7(5), 1391-1406.