การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น เพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการใช้บริการจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และ3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 3 ข้อมูลความพึงพอใจต่อการใช้บริการ ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านการสอน ด้านเนื้อหา ด้านความรู้ที่ได้รับ เป็นลักษณะคำถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยผลการศึกษาพบว่า อายุ ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น เนื่องจากช่วงอายุของนักศึกษาอยู่ในช่วงวัยเรียนเหมือนกัน จึงไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของความคิดและพฤติกรรมเท่าที่ควร ระดับการศึกษา ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น เนื่องจากการศึกษามีส่วนในการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่น เพราะการศึกษาทำให้นักศึกษานึกถึงเหตุผลต่างๆ ที่จะใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา เพศ ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น เนื่องจากนักศึกษาไม่ว่าเพศใดสถานภาพใด ต่างก็ให้ความสำคัญกับการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษารายได้ต่อเดือน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่น เนื่องจากแอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ หรือสามารถใช้งานได้ฟรี ทำให้นักศึกษาได้มีการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาเป็นอย่างมาก ลักษณะทางประชากรศาสตร์ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า กลุ่มนักศึกษาอยู่ในช่วงอายุเดียวกัน ซึ่งเป็นวัยเรียนเหมือนกัน ทำให้ลักษณะพฤติกรรมเป็นไปในทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการใช้แอพพลิเคชั่น ช่วงเวลาที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นเฉลี่ยต่อวัน และช่วงเวลาที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นมากที่สุด
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. New Jersey: Erlbaum.
Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. (4rth ed.). New York: Harper and Row.
Dibbon, & Pollock. (2007). The Nature of Change and Innovation in Five Innovative Schools. The Innovation Journal: The Public Sector Innovation Journal, 12(1), 1-15.
George, G. (2012). Innovation for inclusive growth: Towards a theoretical framework and a research agenda. Journal of Management Studies, 49(4), 661-683.
Benjarongkit. (1999). Behaviour in organisations. New Jersey: Prentice-Hall.
Phumphongkhochasorn, P. (2020). Factors Affecting Learners' Behavior by Using Innovative Teaching Media Read Learn Run (RLR) as a Base for Teaching and Learning at the Primary Level under the Bangkok Metropolitan Administration For the development of education to Thailand 4.0. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 279-294.
Charumani, N. (2001). The open innovation revolution: Essentials, roadblocks, and leadership skills. New Jersey: John Wiley & Sons, Hoboken.
Srisuwan, N. (2010). Usage behavior and the factors that are available when choosing the application on Mobile phones, smart phones A case study of Dhurakij Pundit University students. Bangkok: Dhurakij Pundit University.
Stavatin, P. (2003). Mass Communication: Communication Process and Theory. Bangkok: Department Store. Partners - Graphic Arts.