รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการความรู้ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการความรู้ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี การวิจัยเป็นแบผสานวิธีโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูป/คน สนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 12 รูป/คน และการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการบันทึกเสียง จดบันทึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา เรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรีขาดการวางแผนดำเนินการ การปฏิบัติตามแผน และการปรับปรุงแก้ไขจุดพกพร่องอย่างเป็นระบบ 2. องค์ประกอบของการจัดการความรู้มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการจัดเก็บและการเข้าถึงความรู้ ด้านการเผยแพร่ความรู้ และด้านการใช้ความรู้ 3. รูปแบบการจัดการความรู้ พบว่า ด้านการแสวงหาความรู้ คือ มีการสร้างแรงจูงใจ ใฝ่รู้ และมีวิจารณญาณ ด้านการสร้างความรู้ คือ มีความรู้ มีประสบการณ์ และมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการจัดเก็บและเข้าถึงความรู้ คือ มีความรู้ดี เข้าถึงง่าย และมีความปลอดภัย ด้านการเผยแพร่ความรู้ คือ มีการเผยแผ่โดยบุคคล โดยสื่อออนไลน์และการตีพิมพ์ ด้านการใช้ความรู้ คือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และส่งเสริมให้มีการใช้ความรู้
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Buddhist Studies Division National Buddhism Office (2010). Outstanding Provincial Dhamma Practice Office 2010. Bangkok: The Office of the National Buddhism Office.
Deming, W.E. (1993). PDCA cycle a quality approach. Cambridge: MA MIT.
Krisana D. (2015). Model of Learning Organization and knowledge management to become a learning organization, academic journal Association of Private Higher Education Institutions of Thailand in the royal patronage HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Siam Boromrajakumari. 21 (2), 141.
Mahacholalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press
Nun Nerashar Saksirisampant. (2013). The Buddhist Administrative Method for the Development of the Monastery Meditation Centers. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Thamavit, P. & Pilarpan, P. (2014). The Administrative Model of the Office of Buddhist Leadership in England. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkorn- rajavidyalaya University. Ayutthaya.
Phrakhrupaladnikom n. (2019). Development of forms and standards in the administration of Dharma practice centers. Mahachula Academic Journal. 6 (special edition). 44.
Phrakhruwijitrdhammawiphat. (2019). Development of Dharma practice of Prachuap Khiri Khan province. Journal of MCU Social Sciences Review. 8 (3), 44.
Meepholkit, S. & Meepholkit, W. (2002). Buddhist Missions for 45 Year Old Individuals. Bangkok: Comform Co., Ltd.
satiman, U. (2012). The development of the knowledge management model for the meditation centers in Thailand. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.