การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลนวนิยายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

Main Article Content

ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์
วีรกาญจน์ กนกกมเลส
ปรีชา คะเนตนอก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการแปลนวนิยายภาษาอังกฤษในระดับคำ วลี และประโยคเป็นภาษาไทย วิธีดำเนินการวิจัยคือ อ่านนวนิยายทั้ง 5 ประเภทและทำความเข้าใจในกลวิธีต่าง ๆ และกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนวนิยายคู่แปลที่เลือกมาวิเคราะห์ ได้แก่ 1) เรื่อง The Davinci Code ของ Dan Brown และเรื่องรหัสลับดาวินซี ของอรดี สุวรรณโกมล 2) เรื่อง The Lord of the Ring ของ J.R.R. Tolkien และเรื่องลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ของวัลลี ชื่นยง  3) เรื่อง The adventures of Tom Sawyer ของ Mark Twain และเรื่องการผจญภัยของทอม ซอว์เยอร์ ของเนื่องน้อย ศรัทธา 4) เรื่อง Animal Farm ของ George Orwell และเรื่องการเมืองเรื่องสรรพสัตว์ ของสรวงอัปสร กสิกรานันท์ และ 5) เรื่องThe Best of Me ของNicholas Sparks และเรื่องใจไม่สิ้นรัก ของวรางคณา เหมสกุล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ตารางในการเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกผลการวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการแปลนวนิยายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษามีจำนวน 5 กลวิธีคือ การแปลแบบตรงตัว การแปลคำนามประสม การแปลกรรมวาจก การแปลโวหารภาพพจน์ และการแปลคำยืม ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า กลวิธีการแปลทั้ง 5 ประเภทนี้เป็นกลวิธีที่ถูกพบใช้บ่อยมากในงานแปลนวนิยาย ผลการวิเคราะห์พบว่า นวนิยายทั้ง 5 เรื่องและคู่ฉบับแปลภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีการแปลแบบตรงตัว ประโยคกรรมวาจก และโวหารภาพพจน์มากที่สุด ทั้งนี้อาจเพราะผู้แปลต้องทำความเข้าใจกับบริบทเนื้อหาในภาษาต้นทางก่อนแล้วจึงนำถ้อยคำหรือความเหล่านั้นมาตีความ สรุปความ เพิ่มความ ปรับแต่งเป็นสำนวนภาษาไทยให้สละสลวย หรือใช้ภาษาการแปลแบบตรงตัว การแปลประโยคกรรมวาจก และการแปลโวหารภาพพจน์ในภาษาปลายทางในบริบทภาษาต้นทางเพื่อให้ผู้อ่านในภาษาปลายทางเข้าใจได้อย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anusasananan, N. (2001). Translation techniques in Romeo and Juliet translated by H.M.

King Rama VI. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahidol University.

Nakhon Pathom.

Bunnotok, T. (1983). Study Guidelines for Contemporary Literature. Bangkok:

Thaiwattanapanit Publishing Company.

Borrisut, P. (1999). Theory and Practice of Translation. Bangkok: Arun Publishing Company.

Chakorn, O. (2017). Literary Translation Techniques. Bangkok: National Institute of

Development Administration.

Chilak, T. (2016). Translation Strategies of Passive Constructions in Novels from English to

Thai. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Naresuan University. Phitsanulok.

Kunasaraphan, K. (2006). The Translation of Idioms from English Screenplays to Thai. (Master’s Thesis). Graduate School: Thammasat University. Bangkok.

Larson, M. (1998). Meaning-Based Translation: A Guide to Cross-Language Equivalence.

United of America: United Press of America.

Naksakun, K. (1998). Thai Phonology. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Nakwatchara, C. (1978). Basic Theory of Literature. Bangkok: Pichanet Company.

Thappang, A. (2013). Translation Strategies of Compound Nouns from English to Thai in

Harry Potter and the Philosopher’s Stone. (Master’s Thesis). Graduate School: Naresuan University.