รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 2) สร้างรูปแบบของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีผสมผสาน (Mixed Method Research) มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 2) สร้างรูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ด้วยเทคนิคเดลฟาย จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ จำนวน 21 คน 3) วิเคราะห์องค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และ 4) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 201 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าพิสัยควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ คุณลักษณะความเป็นผู้นำยุคใหม่ ทักษะยุคใหม่ บทบาทหน้าที่ คุณธรรมจริยธรรม และสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 องค์ประกอบ คือ ด้านภาวะผู้นำ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ความสามารถ และด้านข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี และ 3) ระดับความเหมาะสมของรูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Amdonkloy, S. (2013). The role of school administrators in the 21st century. Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 7(1), 1-8.
Anantachat, N. (2007). School Administrators’ s Skills in Administration as Perceived by Teachers in Mueang Chon Buri District under the Office of Chon Buri Educational Service Area 1. (Master's Thesis). Burapha University. Chon Buri.
Jirarotephinyo, N. (2017) . The Relationship between Participative Management and Good Governance of Administrators in Schools under the Office of Ratchaburi Primary Education Service Office Area 2. Nakhon Phanom University Journal, 7(2), 19-26.
Keawkird, T. (2013). The Development for Sustainable Excellent Administration of Labschool Model. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Nakhon Pathom.
Krejcie, R., & Morgan, D. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
McClelland, D. (1973) . Testing for competence rather than forintelligence. American Psychogist, 28(1), 1-4.
Musikul, K. (2011) . Science teaching in the 21st century. Booklet Institute for Innovative Learning. Mahidol University, 22(6), 6-9.
Makaramani, R. (2012) . School Administrators’s Role in the Age of Globalization. Retrieved October 7, 2019, from http://www.academia.edu/4001681.
Panich, V. (2011). The way to create learning for pupils in the 21st century. Bangkok: Tathata Publication.
Paopan, C. (2016). School Administrators in 21 century. Retrieved December 9, 2016, from http://conference.edu.ksu.ac.th/file/20160809_2488101126.pdf
Saratrattana, W. (2013). New educational paradigm, case study of 21st century education. Bangkok: Thippayawisuth LP.
Siribunyaprasit, A. (2011). Administrative skills of administrators according to the opinions of administrators and teachers under the Office of Chanthaburi Primary Educational Service Area. (Master's Thesis). Rambhai Barni Rajabhat University. Chantaburi.
Stueber, R. (August 2000). The Characteristics of an Effective Lutheran High School Administrator. Dissertation Abstracts International, 61(2), 61-05-A.