รูปแบบนวัตกรรมสื่อการสอน RLR ( Read Learn Run ) ระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อที่พัฒนาการศึกษาไปสู่ Thailand 4.0

Main Article Content

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย นักเรียนที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาในระดับชั้นปฐมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้กำหนดไว้ 50 เขต โดยขอบเขตด้านพื้นที่ ผู้วิจัยเก็บในสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเจาะจงเลือกมา 2 เขต ได้แก่เขตหนองจอก, เขตลาดกระบัง เพื่อสะดวกต่อการเก็บข้อมูล โดยขอบเขตด้านระยะเวลาของการศึกษา ระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 4 เดือนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งคำถามออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลลักษณะประชากรศาสตร์ของกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับชั้น เป็นลักษณะคำถามปลายปิที่มีคำตอบให้เลือกเพียงคำตอบเดียวจากหลายคำตอบ ส่วนที่ 2 ข้อมูลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพฯต่อการทำการบ้าน


ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่  ด้านสถาบันครอบครัว ด้านสังคมเพื่อน ด้านแนวเกมและการสื่อสาร ด้านสถาบันครอบครัว  ผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่งานที่บุตรหลานได้รับ โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจที่ น้อย เป็นอันดับแรกร้อยละ 27 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใจปานกลางร้อยละ 21.9 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 19.9 ด้านสังคมเพื่อนการคบเพื่อนที่ตั้งใจศึกษาหมั่นทำการบ้าน โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจที่ มากที่สุด เป็นอันดับแรกร้อยละ 24.1 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใจน้อยร้อยละ 22.7 ด้านเพื่อนช่วยกันเตือนการบ้านที่ได้รับมอบหมาย โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจที่ มากที่สุดเป็นอันดับแรกร้อยละ 23 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใจน้อยร้อยละ 22.2 ชวนกันทำการบ้านหลังเลิกเรียน  ด้านแนวเกมและการสื่อสาร  สื่อการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจที่ มากที่สุด เป็นอันดับแรกร้อยละ 25 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใจน้อยร้อยละ 23 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใน้อยที่สุดร้อยละ 19.6 การให้ความสนใจกับเกมมากกว่า โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจที่ มากที่สุด เป็นอันดับแรกร้อยละ 26.1 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใจน้อยร้อยละ 23.3 ถัดมาได้แก่ระดับความพึงพอใจมากร้อยละ 18.5


 


คำสำคัญ: รูปแบบนวัตกรรมสื่อการสอน, Read Learn Run

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charoenphol, O. (2013). Development of electronic books on Information and Communication Technology for Mathayomsuksa 1 students Secondary school Under the Office of Educational Service Area 17 in Trat Province. Master of Education Rambhai Barni Rajabhat University.

Jadaman, P. (2013). The Development Education Issue of Thailand 4.0 towards 21st Century. Retrieved 16 January 2020, from http://oknation.nationtv.tv/blog/jedaman/2016/12 /31/ entry-1

Nattarikablog. (2016). Choice of instructional media. Retrieved 16 July 2019, from https:// nattarikablog.wordpress.com/2016/02/15/ Choosing educational media.

Somnuek, P. (2015). The Development of Teaching and Learning Innovation by Using Instructional Media for Enhancement of Learning Achievement towards Tourism Product. International Thai Tourism Journal, 11(1), 4-17.

Supap, S. (1997). Study on Family is the most important institution in society. Retrieved 16 July 2019, from https://nattarikablog.wordpress.com. Choosing educational media.

Thanakom, T. (1975). A research study on blood related groups such as husbands and wives have children. Children born from the sperm of the father mixed with the eggs of the mother. Information Technology and Management Program Bangkok University.

Wattanachai, S. et al. (2007). Study on Design and development of innovative Learning that promotes thinking the objective is to design and develop learning innovation. Graduate school Silpakorn University.