คัมภีร์สุพรหมโมกขา: การแปล การตรวจชำระและการวิเคราะห์

Main Article Content

พระครูโอภาสธรรมพิทักษ์ เตชธมฺโม
สมิทธิพล เนตรนิมิตร
พระราชวิมลโมลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคัมภีร์สุพรหมโมกขาเป็นวรรณกรรมด้านพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการที่พระโพธิสัตว์มาอุบัติในแดนอีสาน เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นผสมผสานกับชาดกที่นำเค้าโครงเรื่องเดิมมาแต่ง นอกจากได้รับอิทธิพลการแต่งจากอรรถกถาธรรมบทและอรรถกถาชาดกซึ่งเป็นคัมภีร์ตามแบบฉบับแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา 2 มิติ คือไตรภูมิพระร่วงในมิติของการเป็นวรรณกรรมที่เน้นสอนศีลธรรม และมีมิติของนิติธรรมคือการจัดระเบียบสังคมเพราะผู้นิพนธ์คือพระมหาธรรมราชาลิไทผู้เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาประชาราษฎร์และเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ดังนั้น จึงมีมิติของการสอนหลักธรรมและหลักการปกครองด้วย


ข้อค้นพบที่เป็นองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวรรณกรรมอีสานเรื่องสุพรหมโมกขา คือ 1) หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรม ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการพูด ให้ทาน การรักษาศีล การมีสัจวาจาและเชื่อฟังผู้มีพระคุณ การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว มีความกตัญญู ความเพียร ความถ่อมตน การได้ภรรยาดี เมตตา มีหลักของนักปกครอง การต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และหลักความไม่เที่ยง 2) ความเชื่อที่ปรากฏในวรรณกรรม คือ กฎแห่งกรรม ไตรลักษณ์ ความเชื่อดั้งเดิมซึ่งตกทอดมา 3) มีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรม ที่มีต่อสังคมของตนคือ ความเชื่อในกุศโลบายซึ่งเป็นอุบบายในทางที่ดี เช่น การฆ่าสัตว์ การลักขโมย การผิดลูกเมียผู้อื่น เป็นต้น 4) มีจารีตประเพณีที่ปรากฏในวรรณกรรม ได้แก่ ประเพณีการแห่ปราสาทผึ้ง การอุทิศส่วนบุญ การฟังธรรม หน้าที่สตรีไทย ประเพณีการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ ฮีต 12 ครอง 14 เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amarit, J. (1987). A Study of a Northeastern Version of the Suphrommokkha. (Master's Thesis). Graduate School: Silakorn University. Nakhon Pathom.

Kamales, N. (2019). Leaders with Managing Cultural Diversity and Communication. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(1), 63-72.

Kyaing, W. (2019). The Buddhist Cultural Remains of Sri Ksetra. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(2), 49-64.

Lao-aruen, P. (2019). Tai Yai Buddhist Altar: Ethics and Customs of Tai Yai People in Mae Sai District, Chiang Rai Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(3), 299-314.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tripitaka: Thai version. Bangkok: MCU Press.

Neadpucdee, R. (2019). The Effect Of Telling Jataka Tales In Inculcating Gharavasa-Dhama 4 To Early-Childhood Children In Child Development Centers Of Local Administrative Organizations, Khonkaen Province. Saeng Isan Academic Journal, 16(2), 620-630.

Nyani, Y. (2018). Buddhist Cardinal Principles for Peace and Harmony. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(1), 19-29.

Phra Atikan Thipphanet Punyateepo. (2019). An Analytical Study on the Ritual of Worshiping and Beliefs Aboutta -Kheag Ghost in Community Kasem Sub-District, Trakanphuetphon District, Ubonratchathani Province. Journal of Arts Management, 3(1) 11-22.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2009). Buddhadhamma. (15th ed). Bangkok: Sahadhammika.

Phramaha Suraved Vachiro. (2010). A Critical Study of the Buddhist Doctrines and World View on Prayakhankhak Esarn Folk – Tales. (Master's Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phunnotok, T. (1992). Local Literature. Bangkok: Odian.

Thammawat, J. (1978) . Isan Literature Style. Maha Sarakham: Srinakharinwirot University of Maha Sarakham.