พุทธวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก

Main Article Content

พระทับทอง ธีรธมฺโม
โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก 3) เพื่อเสนอพุทธวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก  เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์และนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา จำนวน 10 รูป/คน และนักเรียนโรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณาวิเคราะห์ตามหลักวิธีอุปนัย


             ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัญหาที่พบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนเป็นเรื่องของการรู้ไม่เท่าทันข่าวลวง ติดสื่อลามก และมีพฤติกรรมการขาดสติในการใช้งาน ผลกระทบที่ตามมา คือ สุขภาพ  การศึกษา  การพบปะกันทางสังคม และมีพฤติกรรมที่เลียนแบบบุคคลตามสื่อสังคมออนไลน์ พุทธวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ คือ การควบคุมตนเองด้วยหลักอินทรียสังวร การเรียนรู้หลักกาลามสูตรให้เป็นเครื่องมือป้องกันการหลงเชื่อข่าวลวงที่แพร่สะพัดจากสื่อสังคมออนไลน์  และการวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยคิดค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้นก่อน สืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง แล้วแยกส่วนจนเข้าใจส่วนที่ดีหรือไม่ดีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bamrungphak, S. (2015). Stop! Internal Sense-Fields: The Way of Mental Cultivation for Learning Enhancement. Mahachula Academic Journal, 2(Special), 1-12.

Kocak, Y. (2014). Gender Differences in Using Social Networks. Hacettepe University. Ankara Turkey: Faculty of Education.

Kongrat, P. (2011). A Study of Teen Social Media Using Behavior in Thailand: A Case Study of Facebook. (Master's Thesis). Thammasat University. Bangkok.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2007). Buddhadhamma Method of Thinking. Bangkok: Siam.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2016). Buddhadhamma Extended Edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Piwapong, Y. (2011). The Influence of Pornography on Male Juvenile Sexual Abuse. (Master's Thesis). Mahidol University. Nakhon Pathom.

Pornkun, C. (2011).Teaching Thinking Process Theory and Application. Bangkok: Chulalongkorn University.

Ratanangam, S. (2013). The Buddhist Way of Media Literacy for Life Development: A Case Study of Television and Facebook. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Sangkawara, P. (2015). Thai Research Archives: The Dimension of Research Reform in Advancement to ASEAN, Bangkok: Research Information Link Division Research Information Center National Research Council of Thailand.

Srisakdinun, S. (2014). Buddhism Ethical Communication Promotional Model on Social Media. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Tantiponganant, V. (2005). The Occurrence of Internet Harm to Adolescenrs in Bangkok Metropolis. (Master's Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Wichitbunyarak, P. (2011). Social Media: Media of the Future. Executive journal, 31(4), 93-103.