รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหาร สถานศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นวัตกรรมการเรียนรู้ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 4) เพื่อศึกษาแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดในกรุงเทพมหานคร จำนวน 628 กลุ่มตัวอย่าง
จากสถานศึกษาทุกสังกัดในกรุงเทพมหานคร ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลวิจัยสมการเชิงโครงสร้างแบบจำลองรูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการการวิจัยพบว่า รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษามีอิทธิพลต่อความสามารถในการบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้สถานศึกษา การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษามีอิทธิพลต่อความสามารถในการบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้สถานศึกษา การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษามีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา รูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษามีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้ การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษามีอิทธิพลมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้ ความสามารถในการบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้สถานศึกษา
มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา และความสามารถในการบริหารนวัตกรรมการเรียนรู้สถานศึกษา มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารสถานศึกษาสู่การเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonkuek, W. (2010). Educational innovation. (6th ed.). Nonthaburi: SR Printing.

Chamchoy, S. (2012). Innovative Concepts for School Management in the Last 21 Century. Journal of Education, Naresuan University, 14(2), 117-128.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J.A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the ninitiated. London: SAGE Publications.

Hair, J. F. J., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (2010). Multivariate Data Analysis. NJ: Pearson Prentice Hall.

Jiwtrakul, T. (2017). A Study of Guidelines for Managing Educational Innovation to Be Used In Teacher Development and Research Development. bangkok: Srinakharinwirot University.

Malithong, K. (2013). Teaching and Training Media from Basic Media to Digital Media. Bangkok: Chulalongkorn University.

Mueller, R.O. (1996). Confirmatory Factor Analysis. In Basic Principles of Structural Equation Modeling: An introduction to LISREL and EQS. New York: Springer-Verlag.

Panit, V. (2012). The Organization of Learning and Knowledge Management. Bangkok: Tathata Publication.

Sangkhobhon, W., & Srima, S. (2012). The Development of Classroom Innovation Management Process in Basic Education Institutions with Quality Management. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Sinthaphanon, S. (2010) . Learning and Teaching Innovation for Youth Quality Development. (4th ed.). Bangkok: 9119 Printing Techniques.

Tangkijwanit, S. et al. (2013). Reformed basic education for learning of the 21st century. Bangkok: Office for National Statistics.

Tongnopkun, W. (2016). 21st Century Skills: The Challenges Ahead. Retrived January 20, 2020, from http://www.education.pkur.ac.th.