รูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล และ 4) นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผสมผสานการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้สูงอายุ และ 2) ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และ การสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ One-sample t-test การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ภาพรวม กลุ่มผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับสูง 2) องค์ประกอบทุกตัวเป็นองค์ประกอบเชิงยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 3) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การได้รับอิทธิพลโดยตรงจากปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ปัจจัยด้านมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การ กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ พบว่า ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การ ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 4) รูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยประกอบด้วยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สมรรถนะองค์การการมีส่วนร่วม และมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Alexander, C. V. (2012). What do people entering the field of longtermcare administration need to know?. (Doctoral Dissertation). Miami University. Miami, USA.
Alfermann, A. L. (2011). The Effects of Corporate Social Responsibility on Employee Engagement in a Global Setting Alderman. (Doctoral Dissertations). Benedictine University. Illinois, USA.
Anan, D. (2013). Educational Administration Partion Participation of the Committee of Buriram Primary Education School Office Area 1. (Master's Thesis).Graduate School: Mahamakut Buddhist University, Nakorn Pathom.
Arnstein, S. R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35(4), 216-224.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Transformational Leadership Development. Pola Alto California: Consulting Psychologists.
Daft, R. (2008). The Leadership Experience. (4 th ed.). Mason, OH: Thomson South-Western.
Department of Local Administration, Ministry of Interior. (2005). Standard of Assistance for the Elderly. Bankok: The Agricultural Co -operative Federationof Thailand.
Department of Older Persons, Division of Elderly Potential Promotion. (2016) . Elderly Guide. Bangkok: Division of Elderly Potential Promotion, Department of Older Persons, Ministry of Social Development and Human Security.
Janthana, S. (2014) . Antecedents and Consequence of Strategic Leadership Capabilities of Higher Education Institute in Thailand. Journal of the Association of Researchers. 19(1), 34-46.
Kodchaphon, C. (2015). Administrative Competence of Local Administration Organization Executive: Chiang Mai Province. (Master's Thesis). Graduate School: Chiang Mai Rajabhat University. Chiang Mai.
Loaprasert, K. (2016). Elderly Society: Investment Service Center. Bangkok: The Board of Investment of Thailand.
Ministry of Social Development and Human Security. (2015). The Suitable Welfare for The Elderly in Different Ages: The Technical Promotion and Support Offices 1-12. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.
Sathiankhong, J. (2014) (2014) . Strategy for Success in the Management of Thai Public Sector. (Doctoral Dissertation).College of Public Administration: Burapha University. Chonburi.
Sudarat, S. (2014). Elderly Social Welfare in Thailand. Southern Technology Journal, 7(1), 73-82.
Suttanu, S. (2008). Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University.
The Secretariat of the National Legislative. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E.2560. (April 6, 2017). Bangkok: Government Gazette. The Secretariat of the National Legistative.
Tongbai, K. (2014) Teaching Documents for the Organization and Management and Strategic Management, Unit 9. (4th ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.