รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา โดยใช้วิธีผสมผสาน มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้ศาสตร์พระราชา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย และการสนทนากลุ่ม 3) วิเคราะห์องค์ประกอบหลักด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 140 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าพิสัยควอไทล์ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา คือการบริหารงานด้วยทางสายกลาง ซึ่งประกอบด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระราชา เพื่อให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนอย่างยั่งยืน 2) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 องค์ประกอบ คือ ด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านความเข้าใจ ด้านความเข้าถึง ด้านการพัฒนา และด้านหลักการทรงงานของพระราชา 3) ระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามศาสตร์พระราชา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Anon, S. (2018) . Understand, access, develop: the methods of the King's science for sustainable development. Bangkok: Center for Intellectual and Information Finance. National Institute of Development Administration.
Atchara, W. (2012). Application of Sufficiency Economy Philosophy in Schools under the Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 3: A Case Study of Ban San Kong School, Mae Chan District, Chiang Rai Province. Chiang Rai: Chiang Rai Primary Educational Service Area Office, Area 3.
Intrachim, C. (2017). Science of The King: The Philosophy of Sufficiency Economy. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 11(sp1), 295-308.
Jukparun, W. (2012) . Development of basic education institution management model according to the philosophy of sufficiency economy. Chiang Mai: Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat University.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Krerati, Y. (2005) . Knowledge management in organizations and case studies. Bangkok: Mr. Copy.
Ministry of Education. (2009). Guidelines for bringing sufficiency economy philosophy to education in schools, the sufficiency economy research project. Bangkok: The Crown Property Bureau.
Preeyada, S., & Samrech, Y. (2012) . Learning management according to the philosophy of sufficiency economy in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25. Khon Kaen: Office of Educational Service Area 25.
Sarayut, C. (2012). System Evaluation Research Project to Introduce the Principles of the Sufficiency Economy into Practice in Schools for Ban Nong Daeng School, Sahamit. Maha Sarakham: Ban Nong Daeng Sahamit School.
Sasithorn, L. (2015). Managing Small Schools by Combining Small Schools into Groups, under the Krabi Primary Educational Service Area Office. (Master's Thesis). Hatyai University. Songkhla.
Semaratana, A. (2017). The King’s Philosophy. The National Defence College of Thailand Journal, 59(1), 112-126.
Suwicha, T. (2010). Conducted Research on Application of the Sufficiency Economy Philosophy in School Administration: A Case Study of the Sufficiency Economy Network School. Bangkok: Kasetsart University.
Tubporn, H. (2017). The King’s Philosophy, Sufficiency Economy: Wisdom of Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Bansomdejchaopraya Rajabhat University, 11(1), 66-79.