การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ และ 3) ประเมินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ โดยมีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาลักษณะการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ 2) ปรับรูปแบบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ ด้วยเทคนิคเดลฟาย จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน 3) วิเคราะห์องค์ประกอบของการวิจัย และ 4) ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ จากผู้บริหารสถาบัน และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 180 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าพิสัยควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย 1. คุณลักษณะการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ มี 5 องค์ประกอบ คือ ด้านผลลัพธผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และด้านการบริหารจัดการ 2.รูปแบบการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามการประกันคุณภาพแนวใหม่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จะต้องพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยเน้นผลลัพธ์ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น และมีการวิจัยและสร้างนวัตกรรม จัดการบริการทางวิชาการและบริหารจัดการสู่คุณภาพ 3. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : คุณภาพและมาตรฐาน; การประกันคุณภาพแนวใหม่; สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chirotphinyo, N. (2017). The relationship between cooperative management and governance of school administrators under Ratchaburi Educational Service Area Office 2. Journal of Nakhonphanom University. 7(2), 19-26.
Chitrangsan, N. (2007). Guidelines for site quality development Private studies using management concepts to be excellent in the viewpoint of private school administrators in Samutprakarn Province and experts. Master of Education. Bansomdejchaopraya Rajabhat University.
Dechit, N. et al. (2014). The development of educational quality management model of small schools in Chiang Mai province. Veridian E-Journal. 7(1), 24-26.
Independent Committee For educational refor. (2019). Sustainable education advancement Retrieved May 31, 2019, from https://www.thaiedreform.org/news/2882/
Inwang,K. (2017). An academic leadership developmental model by knowledge management of executives from private universities. APHEIT International Journal. 6(1), 114-129.
Kitratphorn, P. (2019). Educational inequality Thailand. Interview. February, 20.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lorsuwanrat, T. (2007). Modern organization theory. Bangkok: Rattanathai.
Nichakonwong, A. (2015). The development of educational administration model by using good governance principles in educational institutions under the Sakon Nakhon Educational Service Area Office 1. Ph.D. Dissertation. Western University.
Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education. (2008). The 15-Year Higher Education Plan Framework No. 2 (2008-2022). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Office of Macroeconomic Policy Ministry of Education. (2019). Educational reform in the second decade (2009 - 2018). Retrieved May 3, 2017, from http://www.onec.go.th
Phiphatnarathorn, N. & Chirotepinyo, N. (2018). Management towards excellence of private schools in Bangkok. Journal of Mahachulalongkornrajavidyalaya, 2(1), 223-240.
Punthai, K. (2009). The influence of leadership behaviors, organizational culture and human Resource development on employee performance in state enterprises. Ph. D. Dissertation (Faculty of Public Administration). National Institute of Development Administration.
Settawilai, P. (2019). Disparities in the Thai education system. Retrieved Nov 30, 2019, from https://www.trueplookpanya.com/blog/content/74197/
Sirirangsri, P. (2012). Participatory Educational Management of Organizations in the Community: Experience from Practice. Bangkok: DPU Cool print.
Srigo, T. et al (2018). Model of educational management at the doctoral degree level in education administration of private higher education institutions. Journal of Narathiwat University, 4(2), 166-171.
Vesarnatch, P. (2011). Principles of Educational Management. Bangkok: Printing.