การศึกษาระบบ E-Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร สู่มาตรฐานระดับสากล

Main Article Content

สุภาวดี ลาภเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อศึกษาระบบ e-learning และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางการใช้เทคโนโลยี e-learning ในการแสวงหาความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เท่าทันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการที่มีความสมัยใหม่ และ การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ในกรณีที่เก็บแบบสอบถามผ่าน Google Form กับผู้เรียนในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยมีการศึกษาระบบแบบ E-Learning จำนวน 400 คน คือ การสุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงโอกาสที่ทุกหน่วยประชากรจะถูกเลือกและสามารถประมาณค่าความน่าจะเป็นได้ เลือกสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีการจับฉลาก ผู้วิจัยเลือกการหยิบฉลากครั้งเดียวให้ได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ


        ผลการศึกษาพบว่า ด้านโครงสร้างของเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ของบทเรียน พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า การศึกษาผ่านระบบ  E-Learning สามารถประสานงานกันให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น และด้านการที่ E-Learning ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง และE-Learning มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ทำให้เกิดความน่าสนใจ มีกิจกรรมในการเรียนที่หลากหลาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ E-Learning เป็นการเพิ่มช่องทางในการเรียนที่ทันสมัยและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


        การประเมินข้อเสียของระบบ E-learning  การไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอนพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนบางคนไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย การไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง


 


คำสำคัญ : การศึกษาระบบ E-Learning,ศักยภาพของผู้เรียน,มาตรฐานระดับสากล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

E-Learning: from theory to practice. (2015). Thai Cyber University. Bangkok: Distance Education Promotion Project.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education, New York: McGraw-Hill Book. Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Values.

Trikunprapa, K. (2015). E-Learning. Good to know internet.

Lueanphit Satorn and Faculty. (2018). E-learning. Bangkok: TJ Book

Monchai Thianthong. (2002). Course design and development for computer assisted instruction lessons. Department of Computer Education, Faculty of Education, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok. Maha Sarakham Rajabhat University.

Office of the Higher Education Commission. (2015). E-Learning: From theory to practice.

Pairote Tianyathanakun. (2017). Design and production of computer-assisted instruction. Bangkok: Distance Education Promotion Project.

Sakda Sathapornvajana. (2006). Educational Management and Contemporary Education Administration. Chanthaburi: Rampaipani Rajabhat University.

Thanomphon (Tanphiphat) Laoharatsaeng. (2002). Computer-assisted instruction. Bangkok: Thailand Contact Center - Knowledge Portal for Business Transformation and Contact Center. Retrieved May 3, 2017, from www.thailandcontactcenter.com.

Nisinsilp, W. (2008). Learning media and innovation. Pathum Thani: Sky Books.