เปรียบเทียบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในประเทศไทย: กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสภาพเชิงประจักษ์ของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา 2) ศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา 3) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา 4) นํารูปแบบที่เหมาะสมของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ทํางานอยู่ในกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาเชิงวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า1) สภาพเชิงประจักษ์ที่เหมือนกันคือ ส่วนกลางคุมทั้งผู้บริหารและสภาท้องถิ่น ที่ต่างกันคือ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางทุกอย่าง เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ 2) ปัญหาหรืออุปสรรคที่เหมือนกันคือ นโยบายและโครงการไม่ได้มาจากประชาชนที่ต่างกันคือกรุงเทพมหานครมีพื้นที่กว้างใหญ่ ฝ่ายบริหารไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง เมืองพัทยาฝ่ายบริหารและสภามีความย้อนแย้งทางความคิดสูง 3) แนวทางแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เหมือนกันคือ ควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหรือร่างขึ้นใหม่ที่ต่างกันคือ กรุงเทพมหานครรัฐบาลควรตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อดูแลภารกิจคาบเกี่ยวหรือซ้ําซ้อน เมืองพัทยานโยบายและแผนงานของฝ่ายบริหารควรมั่นคงหรือไม่รวนเร 4) รูปแบบที่เหมาะสมที่เหมือนกันคือ รัฐบาลควรจะทําให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ที่ต่างกันคือ ภารกิจใดภายในพื้นที่ๆ กรุงเทพมหานครมีศักยภาพและสามารถทําได้ ส่วนกลางควรจะโอนให้รับผิดชอบทั้งหมด เมืองพัทยาควรจะเป็นองค์กรท้องถิ่นที่มีหน้าที่เดียวคือการท่องเที่ยว
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Lampen, W.C. (2016). Reform of Local Government in Special Forms: Pattaya City Reform. Bangkok: The Secretariat of The House of Representatives, Academic Office.
Chareon Muang. (2012). Comment on “Summary report Brainstorming Seminar The second wave of Decentralization: New Context Area Specificity and Motion to Establish a Special Local Government Organization”. Bangkok. Thammasat University.
Birch, A. (2007). The Concepts & Theories of Modern Democracy. (3rd ed.). London: Routledge.
Boramanun, N. (2009). Local Government. (5th ed.). Bangkok: Winyuchon Printing House.
Brinkerhoff, W.D., & Azfar, O. (2006). Decentralization and Community Empowerment: Does Community Empowerment Deepen Democracy and Improve Service Delivery. Paper Prepared for U.S. Agency for International Development Office of Democracy and Governance, October.
Chatchawan, S. (2012). Politics in The Decentralization Process: Study Through the Role of Academics Official Politician and People. Bangkok: Chulalongkorn University.
Government Gazette, book 124, ep. 47 a
Government Gazette, book 131, ep. 134 d
Government Gazette, book 133, ep. 125 d
Government Gazette, book 133, p. 128 d
Government Gazette, book 134, ep. 40 a
Government Gazette, book 134, ep. 48 d
Government Gazette, book 135, ep. 237 d
Institute of Advisors for Government Efficiency Development. (2011). Study of The Establishment of a Special Local Administrative Organization in Mae Sot, Tak Province. Retrieved Mar 6, 2017, from http://www.tia.or.th/main.php?m=board
Puangngam, K. (2016). Thai Local Governance, Future Principles and Dimensions. (9th ed.). Bangkok: winyuchon Printing House.
Rhodes, R.A.W. (1997). Understanding Governance: Policy Networks, Governance, Reflexivity and Accountability. Buckingham: Open University Press.
Burki, J.S. et al. (1999). Beyond the Center: Decentralizing the State. Washington, DC: The World Bank.
Stanyer, J. (1967). Country Government in England and Wales. New York: Humanities.
Tanchai, W. (2015). Thai Political Problems in Decentralization. Teaching Materials, Course Set “Current Thai Political Problems”. Nonthaburi: School of Political Science, Sukhothai Thammathirat Open University.