รูปแบบการพัฒนาเกลือสินเธาว์อำเภอบ้านดุงเพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการประชารัฐ

Main Article Content

เพ็ญนะภา ปาละปิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและยกระดับเกลือสินเธาว์อำเภอบ้านดุง สู่ผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์และสร้างรายได้อย่างยั่งยืนแก่ชุมชน และออกแบบแผนการพัฒนาเกลือสินเธาว์อำเภอบ้านดุงเพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการประชารัฐ ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือกลุ่มเกษตรกรนาเกลือสินเธาว์ ผู้นำระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ตัวแทนภาคประชาชน ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนภาคเอกชนในอำเภอบ้านดุงที่มีบทบาทส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาเกลือสินเธาว์อำเภอบ้านดุง จำนวนรวม 90 ราย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลหลัก และการจัดสนทนากลุ่ม ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาและยกระดับเกลือสินเธาว์อำเภอบ้านดุงสู่ผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ปรับเปลี่ยนความคิด สร้างค่านิยมแก่ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนอำเภอบ้านดุง, พัฒนาแหล่งผลิตเกลืออำเภอบ้านดุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว, พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์อำเภอบ้านดุง, มุ่งเน้นเกษตรกรรมทำนาเกลือสินเธาว์ยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการภาครัฐและภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 5 ประชารัฐ 2) โมเดลบ้านเกลือ คือแบบแผนการพัฒนาเกลือสินเธาว์อำเภอบ้านดุงเพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการประชารัฐ มีองค์ประกอบคือ ทุนทรัพยากร ทุนสังคม ทุนวัฒนธรรม และการประสานพลัง 5 ประชารัฐ เป็นฐานราก ชุมชนท้องถิ่นอำเภอบ้านดุงร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมสร้าง ร่วมรับผล พัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็งนวัตวิถีนาเกลือบ้านดุง มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Donkhwa, K. (2012). Community economic development in the northeastern region, northern region. Suranaree University of Technology.

Palapin, P. (2017). Study of the problems of saltwater encroachment in social dimensions. Economy and Environment In the area of Ban Dung District Udon Thani Province. Suan Sunandha Rajabhat University.

Phukamchanoad, P. (2017). Social Development of Happiness in accordance with the philosophy of sufficiency economy in the area of impact on rice fields and salt fields with public participation in Ban Dung District, Udon Thani Province. Suan Sunandha Rajabhat University

Tansrisakul, S. (2010). Factors Affecting Sustainable Community Development: A case study of the local government organization in Maha Sarakham Province. Choraphayom Journal, Year 21.

Wewon, B., Wannokok, A. & Meksuwan, A. (2014). Approach to upgrade local wisdom with creative product innovation to increase the value of small-business enterprises Hang Chat District Lampang Province. Lampang Rajabhat University.