ประสิทธิผลของระบบมาตรฐานคุณภาพ ในองค์การธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ

Main Article Content

นลินี สุรดินทร์กูร
ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง
วรเดช จันทรศร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของประสิทธิผลขององค์การหลังการนำระบบมาตรฐานคุณภาพไปใช้ 2) ศึกษาอิทธิพลของการจัดโครงสร้างองค์การ การจัดการทรัพยากร การจัดการกระบวนการ และ การบริหารงาน ที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การภายหลังการนำระบบมาตรฐานคุณภาพไปใช้ภายในองค์การธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของระบบมาตรฐานคุณภาพ ในองค์การธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ โดยวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก ประชากรเป็นบุคลากรที่ เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารและพนักงาน ในองค์การที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ราย เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรประจักษ์ 15 ตัว โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สมการเชิงโครงสร้าง และเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกอย่างเจาะจงกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักวิชาการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การให้การรับรองระบบมาตรฐานคุณภาพ และผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวม 8 ราย


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของประสิทธิผลขององค์การหลังการนำระบบมาตรฐานคุณภาพไปใช้ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดการทรัพยากร การจัดการกระบวนการ และ การบริหารงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2) การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดการทรัพยากร การจัดการกระบวนการ และ การบริหารงาน มีผลต่อ ประสิทธิผลของระบบมาตรฐานคุณภาพ ในองค์การธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของระบบมาตรฐานคุณภาพ ในองค์การธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ ควร พัฒนาที่บุคลากรเป็นลำดับแรก เพราะบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประสิทธิผลของระบบมาตรฐานคุณภาพในองค์การธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ และส่งเสริมองค์การบริหารจัดการระบบมาตรฐานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านมาตรฐานทำให้คุณภาพสินค้าเป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Asif, S. & Sergeant, A. (2000). Modelling Internal Communications in the Financial Services Sector. European journal of Marketing. 34(3-4), 299-318.

Bakar, H. A. & Mustaffa, C. S. (2013). Organizational Communication in Malaysia Organizations: Incorporating Cultural Values in Communication Scale. Corporate Communications: An International Journal, 18(1), 87-109

Butatra K. (2018). Summary from Participating In the Workshop “Laboratory Quality System Curriculum In Accordance With ISO/IEC 17025: 2017”. Maejo University.

Cameron, K.S. (1981). The Enigma of Organizational Effectiveness. In Measuring Effectiveness. D. Baugher, ed. San Francisco: Jossey-Bass.

Department of Medical Sciences. (2018). The Authority That Has Been Certified For Public Health Testing / Consumer Protection Testing. (ISO/IEC17025). Retrieved September 5, 2018, from http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_qa/dbqa/default.asp? iID=LDMEM

Elton, M. (1945). The Social Problems of an Industrial Civilization. Boston: Harvard Graduate School of Business.

Greg, W. M. & Mark, W. J. (2010). Marketing management. New York: McGraw-Hill.

Harold, K. (1980). Management. New York: McGraw – Hill.

Siri Duangjai, H. Sutthanu,S. & Wiphatakala, J. (2015). The effectiveness of the organization in implementing the ISO 9001 quality management system standard in the industrial and service sectors. Department of Organization Development Management Chao Phraya University Journal of the Association of Researchers. Year: 20(1), 33-45.

Henri, F. (1994). General and Industrial Administration. New York: Pitman.

ISO/IEC 17025, (2005). General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories. Thai Industrial Standards Institute Ministry of industry.

Peter F. D. (2006). Classic Drucker. Harvard: Harvard Business School Press.