การบริหารความเสี่ยงและอันตรายของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร
ชูชิต ชายทวีป
รุจิรวัทน์ ลำตาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงและอันตรายของเกษตรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงและอันตรายของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์ และ3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปลูกอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในอำเภอลาดยาว อำเภอตากฟ้า และอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการวิจัยแบบมาตราส่วน 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจคุณภาพของเครื่องมือโดยมีค่าความเที่ยงตรงทางเนื้อหาเท่ากับ 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบโดยวิธีเป็นขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความเสี่ยงและอันตรายของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงและอันตรายของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านจิตสังคม และด้านการเมืองและนโยบายรัฐบาล สามารถทำนายความสัมพันธ์การบริหารความเสี่ยงและอันตรายของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ร้อยละ 78.4 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .964 และ3) เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ควรใช้สารเคมีตามความจำเป็น ควรใช้เครื่องมือทางการเกษตรที่มีคมด้วยความระมัดระวัง ควรเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคและศัตรูพืช และควรลดรายจ่ายการปลูกพืช

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Agricultural Economics Monitoring & Forecasting Center. (2013). Risk Factors for Agricultural Economy. Bangkok: Office of Agricultural Economics Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Bureau of Risk Communication & Health Behavior Development. (2013). Disease-free Handbook for Farmers and Village Health Volunteers. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative of Thailand Ltd.

Bureau of Agricultural Production Development Research. (2014). Risk from the use of toxic pesticides and farmers’ occupation. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives

Cohen, J.. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Hoyt, C. (1914). Test reliability estimated by analysis of variance. Psychometrika, 6, 153-160.

Office of Agricultural Economics Research. (2013). Needs on Risk Management of Farmers with an Alternative Insurance System to Solve Poverty. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Office of Agricultural Economics Research. (2014). Risks from the Use of Toxic Chemicals in Agriculture and Occupation of Farmers. Department of Agriculture. Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Office of Agricultural Economics Research. (2015). Agricultural Economic Risk Factors in 2015. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Public Communication and Behavior Development Department, Ministry of Public Health. (2010). Handbook of Disease-Free Agriculture for Farmers and Village Health Volunteers. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., LTD.

Rattanacharoen, N. (2011). Agricultural Occupational Group. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.