การประสานงานระหว่างองค์กร อำนาจหน้าที่ บทบาทขององค์กร และ เอกภาพในการบังคับบัญชาที่ส่งผลต่อการบริหารภาครัฐเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติ

Main Article Content

ชัยพฤกษ์ อัยยะภาคย์
ณรงค์ กุลนิเทศ
นภัสสรณ์ สุพัฒน์อัญพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพการประสานงานระหว่างองค์กร อำนาจหน้าที่ บทบาทขององค์กร เอกภาพในการบังคับบัญชา และการบริหารภาครัฐเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการประสานงานระหว่างองค์กร อำนาจหน้าที่ บทบาทขององค์กร และเอกภาพในการบังคับบัญชาที่ส่งผลต่อการบริหารภาครัฐเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบ ภัยพิบัติ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง 300 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของผู้เกี่ยวข้อง ขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล และวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูง 14 คน ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับการประสานงานระหว่างองค์กร อำนาจหน้าที่ บทบาทขององค์กร เอกภาพในการบังคับบัญชาและการบริหารภาครัฐเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ในระดับมาก 2) การประสานงานระหว่างองค์กร อำนาจหน้าที่ เอกภาพในการบังคับบัญชามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการบริหารภาครัฐเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสอดคล้องกับเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการบริหารภาครัฐเพื่อช่วยเหลือประเทศผู้ประสบภัยพิบัติภายใต้การกำกับดูแลและตกลงใจของรัฐบาลเป็นสิ่งสำคัญ แต่ต้องอาศัยความปรองดองในการทำงานเป็นทีม รวมทั้งการประสานงานระหว่างองค์กรในทีม มีการแบ่งอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน จะทำให้เกิดเอกภาพ การประสานงานระหว่างรัฐต่อรัฐมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประสบภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Allport, G.W. (1976). Attitudes: Readings in Attitudes Theory and Measurement New York: Macmillan.

Augsuchote, S., Vititwanna, S., & Pinyopanuwat, R. (2011). Statistical analysis for social and behavioral science research: Technical for using LISREL. Bangkok: Charoen-dee Munkong Printing.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). NJ: Prentice-Hall.

Bromberg, P. M. (1982). The Supervisory Process and Parallel Process in Psychoanalysis. New York: W.A.W. Institute.

Chaithong, W. (2014). Antonio Gramsci: Marxism Culture and Study of Super Structure. Retrieved April 15, 2018, Retrieved from https://armworawit.wordpress.com.

Chaiyavuth, V. (2015). Concept of “Consensus” and “Representative” in Chard Kobjitti’s short stories and novels. Journal of Political Sciences and Public Administration Chiangmai University. Prince Damrongrajanubhap Institute of Research and Development, Office of the Permanent.

Secretary for Interior (2010). Coordination technique. Knowledge Document No.18/ Fiscal year 2010 Prince Damrongrajanubhap Institute of Research and Development, Office of the Permanent (unpublished manuscript).

Flippo B. E. (1971). Principles of Personnel Management. New York: McGraw-Hill.

Hastedhamma, A. (2014). Unity of Command. Retrieved April 15, 2018, from http://www.strategic-man.com/articles/detail/62#.WtMo8y5ubIU.

Katzenbach, J. R., & Smith, D.K. (1993). The Wisdom of Teams: Creating the High-performance Organization, Boston: Harvard Business School.

Morrison, T. (2003). Staff Supervision in Social Care. Southampton: Ashford Press. Office of the National.

Economic and Social Development Council. (2011) . Disaster Management and Recovery after disaster: Case Study in Thailand and foreign countries. Bangkok: Phet-Rung Publishing.

Satchukorn, S. (2010). Art of Service. (4th ed.). Bangkok: Saitharn.

Sintakranphol, N. (2010). MBA 50 Principle of Management. Bangkok: Expert Net.

Srivilas, E. (2012). Reconciliation and Harmony Creation in Thai Society. Retrieved April 14, 2018, from https://www.slideshare.net/tarayasri/ss-37643646

Suratanakaweekol, P. (2010). Human and Society. (2nd ed.). Bangkok: Kasetsart University.