บทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และไทย 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของบทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และไทย 3) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มบทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ 4) เพื่อนำเสนอบทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ควรจะเป็นในสังคมไทย การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ใช้การวิจัยเชิงเอกสารตามบริบทของแต่ละประเทศ ระยะที่ 2 วิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของบทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และไทย ระหว่างประวัติศาสตร์กับปัจจุบัน ระยะที่ 3 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสามระยะโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า บทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง มี 4 ด้าน ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ความเหมือนความต่างของบทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองระหว่างประวัติศาสตร์กับปัจจุบัน มี 8 องค์ประกอบ ผลการวิจัยระยะที่ 3 พบว่า แนวโน้มบทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ มี 4 องค์ประกอบ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Copelend, L., & Lawrence, L. (Eds.). (1985). The World’s Great Speeches. (2nd ed.) New York: Dover.
Easton, D. (1960). The Political System. New York: Alfred A. Knof.
Kenaphoom, S. (2014). The Influences of Political Utility Affecting the Democratic Political Decision, Central Northeast, Thailand. Journal of MCU Peace Studies. (5) 2, 1-19.
Lasswell, D. H., & Kaplan, A. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University.
Mayo, H. B. (1976). An Introduction to Semocratic Theory. Delhi: Sterling Publishers.
Neumann, S. (1995). Modern Political Parties. Chicago: University of Chicago Press.
Phra Maha Phisit Satayawut. (1999). The role of monks in rural development. Case study: PhraThep Simaphorn and rural development in Nakhon Ratchasima. Bangkok. Mahidol University.
Phra Sophonkanaporn (Rabab Thithayano). (1985). History of Buddhism. Bangkok: Sivaporn.
Phra Suthiworayanan (Narong Chittasophano). (2006). Buddhist Science Periscope: Combining academic works about Buddhism. Bangkok: Healthy mind.
Phramaha Wisit Dhiravangso. (2019). Development of the Competency of Sangha Administrators in Surin Province. Journal of MCU Buddhapanya Review, 4(1), 169-180.
Phuttha Dot Com. (2019). Knowledge of monks. Retrieved Janury 3, 2019, from https://www.phuttha.com/
Raksamueng. (2018). The Dhammadhipateyya : The Ideal Of Creating Balance For State Sovereignty, Journal of MCU Social Sciences, 7(4), 150-157.
Ranny, A. (1972). Essay on the Behavioral Study of Politics. Urbana: University of Illinois Press.
Schecter, J. (1967). The new face of Buddha: Buddhism and Political power in Southeast Asia. London: Victor Gollancz.
Suksamran, S. (1979). Buddhism and politics, Journal of Social Sciences. 16(4), 1-2.
Wolin, S. (1960). Politics and Vision: Continuity and Innovation in Western Political Thought. New Jersey: Princeton.