กระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อความมั่นคงของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและแนวคิดในการจัดการกองทุนสวัสดิการ ชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคของการจัดการกองทุนสวัสดิการ ชุมชนตำบลไผ่ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย 1) รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เพื่อศึกษา แนวคิดการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน จากหนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) รวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคของกองทุนสวัสดิการชุมชน 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) กองทุนฯ มีการส่งเสริมการออม มอบสวัสดิการตลอดชีพแก่สมาชิก สร้างคุณธรรมและความ สามัคคี ไม่เน้นการแสวงหากำไร เน้นการช่วยเหลือกันและกัน 2) กองทุนฯ มีกระบวนการการจัดการ 5 ด้าน ได้แก่ การวางแผน การจัดการองค์การ การสั่งการ การ ควบคุม และการบริหารงานบุคคล 3) ปัจจัยส่งผลต่อความสำเร็จของกองทุนฯ มี 7 อย่าง ได้แก่ การบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การมีความสัมพันธ์ การเปิดรับเงินสัจจะออมทรัพย์ การมีจิตอาสา และการทำงานร่วมกัน ของชุมชน มีอุปสรรค 5 ประการ ได้แก่ การเลียนแบบกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ประสบความสำเร็จ 2) การมีสมาชิกจำนวนมาก 3) การให้สวัสดิการสูงเกินไป 4) การจัดสวัสดิการแก่สมาชิกได้ไม่เต็มที่ 5) การไม่ เข้าใจอุดมการณ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น มี 2 แบบ คือ 1) ผลกระทบภายใน ได้แก่ การทำงานและค่า ตอบแทนของคณะกรรมการ วัสดุ อุปกรณ์ 2) ผลกระทบภายนอก ได้แก่ เทคโนโลยี พฤติกรรมการออม และการเข้าสู่สถาบันการเงินได้ง่าย
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Phibulsiri C. (2008). Success Affected Factors forSocial Welfare Management of Community Organization. A Research Report of National Institute of Development Administration.
Boonyarattansunthorn C. (2001). System and Mechanism for Development Fund Management: A Case Study of the fund forSocial Investment (SIF). (Research Report Social Research Institute. Chulalongkorn University). The Thailand Research Fund office.
Champa C. (2005). Community Welfare Management Process: A case study of Saving group for Khiriwong Village Production, Lanssaka District, Nokorn Si Thammarat. A Research Report of Thammasat University.
Community Development Department, Interior Ministry. (2010). Handbook of Community Plan Process Movement. Bangkok: Community Strength Creation Office. Community Development Department.
Community Organization Development Institute (Public Organization). (2009). Handbook of Community Welfare Support Project. Bangkok:Appa Printing Group Limited.
Community Organization Development Institute (Public Organization). (2015). Handbook of Community Welfare Support Project: Bangkok: Appa Printing Group Limited.
Kittiwat K. (2000). Social Fund Management in Urban Community , A Case Study of BangsueDevelopemtn Saving Group Network. A Research Report of Chulalongkorn University.
NongnuchSrisuk. (February – May 2012). Literacy Review and Social Work for Community Welfare in Thailand. Romphruak Journal, Krirk University. 30th Years, 30 (2), 142-143.
Northeast Social & Economic Development Office; National Social and Economic Development Committee Office. (2011). The Successful Community Welfare Lesson Report, A case study of Yangkam District Community Welfare Fund, Nongreua District, Khonkhan Province and MuangMahasarakam District Municipality Welfare Fund, MuangDistrict, Mahasarakam. Bangkok: National Social and Economic Development Committee Office.
Welfare and Social Development Department. (2013). Integrated Social Development by using Community Welfare Fund as the Center. A Research Report of Academic and Promoting Office 1-12, Welfare and Social Development Department.