การพัฒนารูปแบบการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 242 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 25 คน ผู้เชี่ยวชาญสำหรับพัฒนารูปแบบ จำนวน 8 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี มี 3 ด้าน ประกอบด้วย การเรียนรู้ การจัดการ และนโยบาย การรายงานรูปแบบในเทอมของ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1) หลักการ: รูปแบบนี้ใช้หลักการมีส่วนร่วมของครูที่สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี กับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในท้องถิ่น 2) วัตถุประสงค์: รูปแบบที่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดอุบลราชธานี 3) การดำเนินการ: รูปแบบที่ได้จะนำไปใช้ในการดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้ การจัดการ และนโยบาย 4) เงื่อนไขความสำเร็จ: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมานี้จะประสบความสำเร็จได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขหลายด้าน เช่น ครูต้องตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการทำปฏิบัติการ ครูต้องมีความชำนาญใน การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ โรงเรียนต้องมีการบริหารจัดการเครื่องมือในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนต้องจัดตั้งงบประมาณในการจัดหาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้มีจำนวนเพียงพอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการสร้างความร่วมมือระหว่างครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐในท้องถิ่น จากผลการประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้นดังกล่าวโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากและเป็นไปได้ในระดับมาก
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Akuma F.V. and Callaghan R. (2016). Framework for Reducing Teaching Challenges Relating to Improvisation of Science Education Equipment and Materials in Schools. EURASIA J. Math., Sci Tech., 12(10), 2697–2717.
Blosser P.E. (1990). The Role of the Laboratory in Science Teaching. Research Matters - to the Science Teacher: National Association for Research in Science Teaching. Retrieved September, 2018, from https://www.narst.org/publications/ research/labs.cfm
Driel J.H.V., Beijaard D. and Verloop N. (2001). Professional development and reform in science education: The role of teachers’ practical knowledge. Journal of Research in Science Teaching, 38(2), 137-158.
Hackmann W.D. (2013). Scientific instruments. In Hessenbruck A. (ed.). Reader’s Guide to the History of Science. Routledge pp. 675–677.
Jantarakantee E. (2016). Science Instruction for Promoting Creative Thinking Skills. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 8(1), 205-217.
Krejcie R.V. and Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Psycholological Measurement: 607-610.
Narupai S. (2011). Development of medical device management systems, maintenance agencies, Pa Daet Hospital Management Group, Chiang Rai Province. 12th HA National Forum 15-18 March 2011 IMPACT Convention Center Muangthong Thani.
Nuannin P. (2005). Problems and obstacles in the use of scientific instruments. The Journal of the Royal Institute of Thailand, 30(4), 1170-1175.
Saramas, S. (2018). The importance of science equipment, scientific instruments and teaching materials to the modern education. Retrieved September, 2018, from http://intereducation.co.th/th/2018/08/09/
Sumrall W.J. (1997). Why Avoid Hands-on-Science?, Science Scope, 20(4), 16-19.
Vasinayanuwatana T., Pinthong T. and Faikhamta C. (2018). Current trends on science teacher development, Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 12(2), 82-104.
Ware S.A. (1999). Science and Environment Education Views from Developing Countries. World Bank, Human Development Network Secondary Education Series. Retrieved September, 2018, from http://web.worldbank.org/archive/website 00243B/WEB/PDF/ WARE1999.PDF