การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

ธนวัน สายเนตร
รัตนะ ปัญญาภา
ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 380 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มจำนวน 15 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ (1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 คน เพศชาย 178 คน (ร้อยละ 46.82) เพศหญิง จำนวน 205 คน (ร้อยละ 53.16) อายุ 14 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 39.47) กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มากที่สุด (ร้อยละ 39.47) สถานภาพอยู่กับบิดามารดา มากที่สุด (ร้อยละ 39.74) อาชีพผู้ปกครองมีอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 37.63) (2) สภาพการรับรู้คุณธรรมด้าน ความพอเพียง ความกตัญญู และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (Mean=3.65,S.D.=0.80) การแสดงพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (Mean=3.90,S.D.=0.77) (3) การรับรู้นโยบายโรงเรียนคุณธรรมรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก(Mean=3.86,S.D.=0.81) 2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 1) หลักการและนโยบาย (1.1)สนองพระราชประสงค์ในการส่งเสริมการสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นโนโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง(1.2) ครูตระหนักในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของอาชีพครูในการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรมและเป็นต้นแบบที่ดีงามของนักเรียน(1.3) ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรม แบบองค์รวมเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ (1.4) ใช้โครงงานคุณธรรมเป็นฐานในการจัดกิจกรรม (1.5) มีเป้าหมายการสร้างคนดีสู่สังคม รวมทั้งการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมให้เป็นต้นแบบและเป็นศูนย์เรียนรู้ของโรงเรียนคุณธรรม 2)วัตถุประสงค์ ส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ 3) การนำรูปแบบไปใช้  ระยะที่ 1 ปฐมนิเทศและการศึกษาดูงานตามแหล่งเรียนรู้ ระยะที่ 2.การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผล 4) วิธีดำเนินการ (4.1) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน(4.2) ส่งเสริมให้มีการอบรมและพัฒนานักเรียนแกน (4.3) ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกช่วงวัย มีทักษะความรู้ ความสามารถ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเหมาะสมเต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย 5) เงื่อนไขความสำเร็จ (5.1) ด้านความรู้ (Moral reasoning)  (5.2)  ด้านอารมณ์ ความรู้สึก (Moral attitude and belief) ความพึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส เกิดความนิยมยินดีที่จะรับจริยธรรมมาเป็นแนวประพฤติปฏิบัติ (5.3)  ด้านพฤติกรรมการแสดงออก (Moral  conduct) 3) ภายหลังการพัฒนากระบวนการดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบ YOUTH 21st Model หมายถึง ความเป็นพลโลกของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในระดับมาก (Mean=4.57,S.D.=0.62)  และความเป็นไปได้ของรูปแบบในระดับมาก (Mean=3.99,S.D.=0.64) 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. New Jersey: prentice.

Kemmis, S. & McTaggart. (1998). The Action Research Plan. 3rd ed. Victoria: Deakin University.

Khammanee, T. (2005). Variety of teaching and learning options. Bangkok: SutthakarnPim.

Kohlberg, L. (1976). Moral stages and moralization: The cognitive-developmental. In Moral development and behavior: Theory, research and social issues. ed. T. Lickona, New York: Holt, Rinehart and Winston.

Ministry of Education. (2008). Core curriculum for basic education 2008. Bangkok: Printing Factory Agricultural Cooperatives of Thailand.

_______. (2016). Educational Development Plan of the Ministry of Education Issue 12 (2017-2021). Bangkok: Printing Agriculture Cooperatives of Thailand.

Moral School Center, Yuwasathirakhun Foundation. (2015). Supervision manual for moral schools. 2nd Edit. Bangkok: Sahamit Printing and Folding Leasing Company Limited.

Nakmoon, R. (2016). A study of the relationship between functional factors and behavior Perform the duties of the Tambon Village Fund Network Committee Uttaradit. Master of Public Administration, Chiang Mai University.

Office of The National Anti-Corruption Commission. (2004). Teacher’s Roles for Youth’s Integrity Development. Bangkok: Office of The National Anti-Corruption Commission.

Office of The National Economic and Social Development Council. (2017). The 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Office of the Non-Formal and Informal Education (NFE). (2014). 12 core values of Thai people according to the NCPO policy. Available from: https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php .(Accessed 14 January 2019).

Phrasamu Anan Ananto (Thupjinda). (2011). The Study of Student’s Ethic and Moral Behavior of Primary Level 6 School, Amphur Muang Samutprakan. Master of Arts