ปัจจัยและผลลัพธ์ของการนำระบบสูบน้ำบาดาลด้วยโซล่าเซลล์มาใช้ในการทำการเกษตร

Main Article Content

ชัชนันท์ ถนอมวรสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยด้านนิเวศวิทยา ด้านกายภาพ และด้านกิจกรรมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้ในการทำการเกษตร และ 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้ในการทำการเกษตรโดยใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองที่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว และอ้อยบนพื้นที่ห่างจากระบบสูบน้ำบาดาลด้วยโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์รัศมี 500 เมตร 4 ตำบล เขตอำเภอเมือง อำเภอดอนเจดีย์ และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่จัดการเรื่องน้ำ จำนวน 5 คน และประชาชนที่เป็นเกษตรกรและใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรจากระบบสูบน้ำบาดาลด้วยระบบโซล่าเซลล์ 40 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เนื้อเรื่องข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ได้ใช้สถิติที (T - test) แบบกลุ่มเดียวที่ไม่เป็นอิสระจากกันเพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างผลลัพธ์ก่อนและหลังการใช้ระบบสูบน้ำบาดาลด้วยโซล่าเซลล์ในการทำการเกษตร ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านกายภาพมีสภาพดิน อากาศ เหมาะสมกับการทำการเกษตรกรรม และสภาพแวดล้อมทั่วไปเหมาะสมกับการทำการเกษตร ส่วนด้านนิเวศวิทยามีสัตว์หรือแมลงทั้งที่เป็นศัตรูพืชและส่งเสริมให้พืชเจริญงอกงาม และด้านกิจกรรมมนุษย์เกษตรกรมีความเห็นว่าระบบสูบน้ำบาดาลด้วยระบบโซล่าเซลล์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัย และมีความเห็นว่าระบบดังกล่าวเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่คุ้มค่า 2) หลังจากการใช้ระบบโซล่าเซล์ในการเกษตรทำให้เกษตรกรได้รับปริมาณน้ำพอเพียงพืชมีความเจริญเติบโต มีความคุ้มค่า สภาพทางกายภาพ สภาพนิเวศวิทยา และด้านกิจกกรมมนุษย์ดีมากกว่าก่อนใช้ระบบโซล่าเซลล์มาใช้ในการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3)การลงทุนระบบโซล่าเซลล์น้อยกว่าระบบสูบน้ำด้วยเครื่องยนต์ปั่นไฟเพราะประหยัดพลังงานไฟฟ้า ใช้ได้ตลอดไป และยั่งยืนแต่เกษตรกรไม่สามารถดูแลรักษาได้เองต้องอาศัยช่างที่ชำนาญเฉพาะซึ่งผลการวิจัยนี้เกษตรกรพื้นที่อื่นๆที่ประสบภัยแล้งเสมอๆ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสามารถนำไปใช้เพื่อมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และส่งผลให้รายได้มวลรวมของประเทศไทยดีมากขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chinnarasri, C., Kamnoet, O., & Sutasuntorn, P. (2016). Situations and Suggestions for the National Policy Regarding Water Resources Management. KMUTT Research and Development Journal, 39(1), 63-84.

Department of Groundwater Resources Ministry of Natural Resources and Environment. (2010). Bangkok: Sin Thaveekij Printing.

John W. B. (1981). Research in Education. Newyorh: Haper and Row.

Kawinwut, S. (2012). Alternative: Applied Sun Tracking System for Solar Cell. Research Report. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Mongkolwatthanakul, P., & Sirilatthporn, P. (2005). Comparison of the energy obtained from the solar panel by using the direction control panel of the sun position detector and the concentration of light. Mechanical Engineering Bachelor of Engineering, Kasetsart University. 12(1), 11-16.

Nuaythong, P. (2005). Direction Control of Solar Panel by Identifying the Sun Position and Solar Intensity Measurement. The 19th Thailand Mechanical Engineering Network Conference, 19(1), 56-61.

Pinthong, A., & Kwanyuen, B. (2018). Testing the Use of Composite Drought Index to Monitoring Agricultural Drought in Thailand. King Mongkut’s Agricultural Journal, 36(3), 136-146.

Samaarpat, P., & Ruangrungchaikul, T. (2015). An Economic Assessment of Solar Water Pumping Systems for Agriculture. Thai Journal of Science and Technology. 4(3), 217–266.