การพัฒนาคุณลักษณะผู้ประนีประนอมประจำศาล จังหวัดสมุทรปราการตามหลักพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ประสิทธิ์ ลาภพิทักษ์มงคล
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
บรรจบ บรรณรุจิ
บรรพต ต้นธีรวงศ์

บทคัดย่อ

 


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ“การพัฒนาคุณลักษณะของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดสมุทรปราการตามหลักพุทธสันติวิธี” การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม(Qualitative filed Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือมี 9 กลุ่มดังนี้ (1) ผู้ประนีประนอมที่ได้รับรางวัลดีเด่น (2) ผู้ประนีประนอมอื่น (3) นักวิชาการด้านพรพุทธศาสนา (4) นักวิชาการด้านสันติวิธีเชิงพุทธ (5) ด้านอบรมผู้ไกล่เกลี่ย (6) ศูนย์ดำรงธรรม (7) ผู้ประนีประนอมประจำศาลสมุทรปราการ (8) ผู้ใช้บริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และผู้เกี่ยวข้องศาลสมุทรปราการ (9) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ศาลจังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือเครื่องบันทึกเสียง การถ่ายภาพ การจดบันทึกข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูล โดยมีขั้นตอน ดังนี้1) ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดแยกประเด็นและหมวดหมู่ตามความมุ่งหมายในการวิจัย2) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive and analytic Study) โดยการนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์แยกประเภทหาข้อสรุป แล้วเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย สำหรับสร้างข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ เพื่อนำมาเป็นฐานในการสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดสมุทรปราการตามหลักพุทธสันติวิธี


ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดสมุทรปราการตามหลักพุทธสันติวิธี ประกอบด้วยกฎทอง 3 ข้อกล่าวคือ ไตรสิกขาเพิ่มธรรมเพิ่มทักษะไกล่เกลี่ยเชิงพุทธฝึกฝนทักษะเพื่อเสริมสร้างพลังทั้ง 5 ในการไกล่เกลี่ย พื้นที่ในการสานเสวนกับกัลยาณมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมพลัง เรียกโมเดลนี้ว่า T-I-P Model”


 

Article Details

How to Cite
ลาภพิทักษ์มงคล ป., วัฒนะประดิษฐ์ ข. ., บรรณรุจิ บ., & ต้นธีรวงศ์ บ. . (2019). การพัฒนาคุณลักษณะผู้ประนีประนอมประจำศาล จังหวัดสมุทรปราการตามหลักพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(5), 1283–1295. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/184277
บท
บทความวิจัย

References

Daniel, B., & David A. H. (2010). Mediator: Characteristics and Success in Confl ict Management. Translated by Dr. Banpot Tonthirawong. Bangkok: Torchlight.

Dispute Resolution Center, Legal Execution Department. (2016). History and Background. Retrieved June 22, 2018, from http://branch.led.go.th/drc/about.asp

Phramaha Hansa Dhammahao. (2011). Buddhist Peaceful Mean Integration of principles and conflict management tools. Bangkok: Company 21 Century.

Kongsila, P., & Phosri, W. (2016) . The role of the Offi ce of Dispute Resolution and Development of Mediation in the Court of Justice, Retrieved May 20, 2018, from http://elib.coj.go.th/Article/j5_s_14.pdf

Mahachulalongkorn University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok. MCU Press.

Phra Adisak Wachirapanyo. (2016). The characteristics of Buddhist integrators. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Sothasathien, S. (2016). Communication Theory. Bangkok: Poram Thong Printing Factory.

Thiansongjai, C. (2011) Mediation Mediation Negotiation: Principles and Tools for Conflict Management. Dissertation Doctor of Buddhist, Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.