รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พระครูถาวรกิตติธรรม
กิติรัตน์ สีหบัณฑ์
รัตนะ ปัญญาภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพการมีส่วนร่วม พัฒนาและประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลโดยการสอบถามบุคคลในองค์กรศาสนา รัฐ และเอกชนจำนวน 399 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นนำข้อมูลเชิงสถิติมาเป็นฐานพัฒนารูปแบบผ่านการสนทนากลุ่มย่อยของผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน และประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก. รูปแบบมี 7 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน: การมีส่วนร่วมในการวางแผน ป้องกัน และจัดระบบที่สามารถปฏิบัติได้จริง 2) ด้านการตัดสินใจ: การมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบกิจกรรม, ให้โอกาสประชาชนร่วมตัดสินใจ, สนับสนุนทรัพยากรในการเผยแพร่ 3) ด้านการดำเนินงาน: การมีส่วนร่วมออกแบบกิจกรรม, การประสานเครือข่าย, การคาดหวังให้วัดเป็นพื้นที่สาธารณด้านการศึกษาและสุขภาพ และการสร้างกติการ่วมกัน, 4) ด้านการรับผลประโยชน์: มุ่งผลคือการปฏิบัติธรรม, ส่งเสริมจิตใจและสติปัญญา และการมอบรางวัลเชิดชูคุณธรรม, 5) ด้านการประเมินผล: ตรวจสอบการใช้งบประมาณ, ตั้งศูนย์ประสานงาน, ประชุมประเมินผล และแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผล, 6) ด้านข่าวสาร: ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเผยแพร่กิจกรรมผ่านช่องทางการสื่อสารทันสมัย สื่อประชาสัมพันธ์ในชุมชน และสื่อสารสนเทศท้องถิ่น และ 7) ด้านการกระจายอำนาจ: วิจัยปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน, ให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่บุคลากรท้องถิ่น และส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ส่วนผลการประเมินรูปแบบพบว่า ภาพรวมทุกด้านเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jongwutthiwet, N. (2007). The Concept of Community Development. Bangkok: Department of Community Development.
Phra Sumeth Sumetdho. (2010). The Comparative Study of the Business Men’s Roles in Supporting Buddhism in the Buddha’s Time and at the Present Time : A Case Study of Dr. Boonyong Vongvanij. Degree of Master of Buddhist Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Watcharawit Imwongsa. (2016). The Roles of Sangha Leaders to Support Democratic Way of The People The Municipality, Nakhonratchasima Province. Nrru Community Research Journal, 10(1), 70-81.
Phrakhrusripariyattayarak. (2018). The Model of Networking the Five Precepts Observing Village for Improving People’s Quality of Life in Nakhon Ratchasima Province. Journal of MCU Peace Studies, Special Issue, 35-46
Phramaha Chaiyarit Jayanandho and Singpan, P. (2014). A Study of Students’ Ethics and Morality Promotion in Schools of the Buddhist Monks according to the Buddhist Monks’ Teaching Morality to Students Project in Ubon Ratchathani Province. Journal of Graduate School, Pitchayatat, 9(1), 51-58.
Phramaha Hansa Dhammahaso. (2018). The Integration of the Knowledge in Field of Peace for Developing Peace Building Process in Thai Society. Journal of MCU Peace Studies, (6)3, 1254-1266.
Phramaha Thanongchai Buranapisut. (2002). The Role of Buddhist Monastery in the Urban Community in Bangrak District, Bangkok. Degree of Master of Rural Development Studies, Mahidol University.
Pornsiripong, S. Sasiwongsarot, Q. and Burasit, Y. (2014). Preparedness of Buddhist temples for an aging society. Institute of Culture and Arts Journal, 31(1), 99-125.
Rapipat, A. (2004). The People Participation for Development. Bangkok: Center for Public Health Policy Study.
Saengthai, P. Phra Rajapariyatkawi, and Phramaha Pornchai Sirivaro. (2018). The Empowerment Model of Women for the Community Development according to Buddhist Principles. Journal of MCU Peace Studies, (6)4, 1334-1346.
Thechaprasertwittaya, P. (2011). The Stretegies for Agicultural Community Development and Planning. Konkhaen: Department of Agricultural Promotion, Faculty of Agriculture, Konkhaen University.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.