รูปแบบการเสริมสร้างความตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของเยาวชนโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

สุวรรณี ฮ้อแสงชัย
บรรพต ต้นธีรวงศ์
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความตระหนักรู้คุณค่าในตนเองที่เชื่อมโยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของเยาวชน 2. เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความตระหนักรู้คุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายตามหลักวิทยาการสมัยใหม่และหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความตระหนักรู้คุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของเยาวชนโดยพุทธสันติวิธี บทความนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือ คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษา 2/2561 จำนวน 25 คน โดยกลุ่มตัวอย่างนี้ได้มาโดยสมัครใจ


          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาความตระหนักรู้คุณค่าในตนเองของเยาวชน เกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก  ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความคิดและทัศนคติ เช่น ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครอบครัว สถานศึกษา สังคม และสภาพแวดล้อม 2. รูปแบบการเสริมสร้างความตระหนักรู้คุณค่าในตนเองตามหลักวิทยาการสมัยใหม่และหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการนำทฤษฎีความตระหนักรู้แบบตะวันตกและหลักธรรมของพุทธแบบตะวันออก มาบูรณาการร่วมกัน 3. นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความตระหนักรู้คุณค่าในตนเองโดยพุทธสันติวิธี เป็นกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มี 4 กระบวนการ คือ 1. มีสติ 2. ควบคุมตนเอง 3. นำไปสู่ปัญญา 4. วิถีธรรม สู่วิถีสุข โดยมี สติปัฏฐาน 4 อริยสัจ 4 พละ 5 เป็นฐาน สำหรับข้อค้นพบ คือ พละ 5 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของเยาวชน ทำให้เกิดความตระหนักรู้คุณค่าในตนเองเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้การฆ่าตัวตายลดลง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bruno, F.J. (1983). Adjustment and Personal Growth: Seven Pathway. (2nd ed.) New York: John Wiley & Sons.

Community Mental Health Centers. (2018). Retrieved March 5, 2019, from https:// www.cms.gov/.../CommunityHealthCenters.html.

Coopersmith, S. (1981). SEI: Self-Esteem Inventories. California: Psychologists Press.

Dailynews, Retrieved March 4, 2019, from https://www.thairath.co.th/content/1350134

Department of Mental Health, (2019). Ministry of Public Health. Bangkok, Thailand: Retrieved March 3, 2019, from www.dmh.moph.go.th.

High school, Drinking poison, Retrieved March 4, 2019, from https://www.dek-d.com/education/8518/

Hospital Association for Suicide Prevention of Nation. (2018). Chittavech Khon-kaen Ratchanakharin. Khon-kaen, Thailand: Retrieved March 4, 2019, from www.painaidii.com/.../61898/chittavech-khon-kaen-ratchanakharin.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Ministry of Education in Japan. (2018). Retrieved March 4, 2019, from www.getyourguide. com/Japan/Activities.

Nation, Retrieved March 4, 2019, from http://www.nationtv.tv/main/content/378647812/

Samaritans (2017). Suicide_statistics_report_2017_Final(2).pdf. Samaritans. Retrieved March 4, 2019, from https://www.samaritans.org/sites/default/files/kcfinder/files/.

Thai Civil Rights and Investigative Journalism. (2018). Retrieved March 4, 2019, from https://prachatai.com/english/category/thai-civil-rights.

Thai post. (2018). World suicide prevention day. Retrieved March 4, 2019, from https:// twitter.com/hashtag/WorldSuicidePreventionDay2018