องค์ประกอบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลนครนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ เทศบาลนครนครราชสีมา 2) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนในองค์ประกอบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลนครนครราชสีมากับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการปัญหาใน การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครนครราชสีมา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ของ Creswell & Clark (2011) แบบ Explanatory Sequential Design สำหรับ ในการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 692 คน สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ในส่วน การวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Interview) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 25 คน และวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพตามวิธีของไมล์และฮิวเบอร์แมน(1994: 10-12) ผลการวิจัย พบว่า การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนครนครราชสีมา มี 9องค์ ประกอบ ดังนี้ 1) หลักความเสมอภาค (λ = 0.90) รองลงมาคือ 2) หลักความโปร่งใส (λ =0.88) 3) หลัก การกระจายอำนาจ (λ =0.86) 4) หลักประสิทธิภาพ (λ =0.86) 5) หลักการมีส่วนร่วม(λ = 0.83) 6) หลักความรับผิดชอบ (λ =0.78) 7) ประสิทธิผล(λ =0.72) 8) หลักนิติธรรม(λ =0.77) และ 9) หลักการ ตอบสนอง (λ =0.63) โดยองค์ประกอบทุกตัวมีค่าดัชนีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 (ค่า c2 = 465.75, df = 420, c2/df = 1.046, p-value = 0.19983, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, SRMR = 0.011, RMSEA = 0.014 และ CN = 2173.16) และสอดคล้องกับหลักความถูก ต้องและครอบคลุม ความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ รวมถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้ใน ทุกประเด็น
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Creswell & Clark. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. (2rd ed.). Los Angeles, CA: Sage Publication.
Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3).
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis. (2nd ed.). London: SAGE.
United Nations Development Programme. (1997). Governance for sustainable human development. UNDP policy document, New York.
Cheema. G. Shabbir. (2005). “From Public Administration to Governance: The Paradigm Shift in the Link between Government and Citizens” A paper presented at the 6th Global Forum on Reinventing Government towards Participatory and Transparent Governance. on 24-27 May 2005, Seoul, Republic of Korea.
Victor Pestoff. (2010). New Public Governance, Co-production & Third Sctor Social Services. Institute of Civil Society Studies. Ersta Skondal University Collage. Stockholm, Sweden.
Loffler Elke. (2005). “Governance and Government: Networking with External Stakeholders” in Public Management and Governance. Tony Bovaird and Elke Loffler (eds.) London: Taylor & Francis Group.