กระบวนการทางปัญญาเชิงพุทธศาสนา กับการรู้เท่าทันสื่อของพระสงฆ์ไทย กระบวนการทางปัญญากับการรู้เท่าทันสื่อของพระสงฆ์ในประเทศไทย

Main Article Content

อลิชา ตรีโรจนานนท์
พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ
พระครูพิพิธสุตาทร
พูนชัย ปันธิยะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ สำรวจการรู้เท่าทันสื่อ ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาว่าด้วย กระบวนการทางปัญญาเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางปัญญา เชิงพุทธศาสนากับการรู้เท่าทันสื่อของพระสงฆ์ไทย ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ คือ สถิติ เชิงพรรณาและการทดสอบด้วยสมการถดถอยพหุคูณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 235 รูป มีสมมติฐานสำคัญ คือ พระสงฆ์ที่ตระหนักถึงกระบวนการทางปัญญาจะมีการรู้เท่าทันสื่อมาก ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์ไทยที่ตอบแบบสอบถามมีอายุโดยเฉลี่ย 24.02 ปี ค่าเฉลี่ยของอายุ พรรษาของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่ามีค่าเฉลี่ยอายุพรรษา 6.20 ปีเป็นพระสงฆ์ 110 รูปและเป็นสามเณร 125 รูป ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า มีการศึกษาอยู่ในระดับนักธรรมเอก มากที่สุดและส่วนใหญ่ไม่ได้สอบเปรียญธรรม พระสงฆ์ไทยรู้เท่าทันสื่อในระดับ “มาก” ตามองค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อ หลักธรรมที่ใช้ ประกอบกระบวนการทางปัญญาได้แก่โยนิโสมนสิการและกาลามสูตร และพบว่ากระบวนการทางปัญญา สัมพันธ์ในทางเดียวกับการรู้เท่าทันสื่อ กลุ่มตัวอย่างที่มีกระบวนการทางปัญญาต่างกัน มีค่าเฉลี่ยของการรู้เท่าทันสื่อต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การทดสอบด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพบว่า ตัวแปรที่สามารถ อธิบายระดับการรู้เท่าทันสื่ออย่างมีนัยสำคัญ คือ กระบวนการทางปัญญาเชิงพุทธศาสนา ตัวแปรหุ่นแสดง ความรู้ในทางโลก และตัวแปรหุ่นของชั่วโมงการใช้งานอินเทอร์เนตซี่งสามารถเขียนในรูปของสมการทำนาย การรู้เท่าทันสื่อได้ดังนี้ คือ การรู้เท่าทันสื่อ = 3.072 + 0.053 (กระบวนการทางปัญญา) + 0.206 (ตัวแปร หุ่นระดับการศึกษา) + 0.245 (ชั่วโมงการใช้อินเทอร์เนต)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aczel, P. (2014). Reconceptualizing (New) Media Literacy. Perspectives of Innovations, Economics & Business, 14(1), 47-53.

Akti, S., & Gürol, A. (2012). Determining the Relationship between Media Literacy and Social Skills. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 64, 238-243.

Diergarten, A. K., Möckel, T., Nieding, G., & Ohler, P. (2017). The impact of media literacy on children’s learning from films and hypermedia. Journal of Applied Developmental Psychology, 48, 33-41.

Flavell, J. H., Flavell, E. R., Green, F. L., & Korfmacher, J. E. (1990). Do young children think of television images as pictures or real objects. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 34(4), 399-419.

Kulthida, T., & Mega, S. (2017). The current state and influential factors in the development of digital literacy in Thailand’s higher education. Information and Learning Science, 118 (5/6), 235-251.

Mares, M.-L., & Pan, Z. (2013). Effects of Sesame Street: A meta-analysis of children’s learning in 15 countries. Journal of Applied Developmental Psychology, 34 (3), 140-151.

Mares, M.-L., Sivakumar, G., & Stephenson, L. (2015). Frommeta to micro: Examining theeffectiveness of educational TV. American Behavioral Scientist advance online publication. American Behavioral Scientist advance online publication.

Perryman, A. A., Fernando, G. D., & Tripathy, A. (2016). Do gender differences persist? An examination of gender diversity on firm performance, risk, and executive compensation. Journal of Business Research, 69(2), 579-586.

Potter, W. J. (2010). The State of Media Literacy. In Vol. 54, 675-696.

Sweller, J. (1988). Cognitive load during problem solving: Effects on learning. Cognitive Science. Vol. 12(2), 235-285.

Şişman, B., & Yurttaş, O. U. (2015). An Empirical Study on Media Literacy from the Viewpoint of Media. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 174, 798-804.

Zikmund,W.G. (2010) Business Research Method. South-Western/Cengage Publisher.