กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหาร การศึกษาสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธ บริหารการศึกษา สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) เพื่อเสนอกลยุทธ์ การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษา เป็นรูปแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่ม ตัวอย่าง 410 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการจัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน เพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมา พัฒนากลยุทธ์ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวม พบว่า มีระดับการบริหารอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การร่วมมือและการ ประนีประนอม มีระดับการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการหลีกเลี่ยงและการเอาชนะ มีระดับการ บริหารอยู่ในระดับมาก 2. กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำหรับสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) วัตถุประสงค์ 4) กลยุทธ์ และ 5) หลักพุทธบริหารการศึกษาที่ส่งเสริมการบริหารความขัดแย้ง คือ หลักสาราณียธรรม 6 3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งตามหลักพุทธบริหารการศึกษาสำหรับ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ใน การนำไปใช้ในสถานศึกษาเพื่อที่จะลดปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษาได้จริง
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Content, S.H. (1986). Conflict Management Styles of Principals in Elementary and Secondary Schools. Dissertation Abstracts International.
Hannakin, P. (1981). Principles of School Administration. Bangkok: watanapanit.
Kaowatanakun, W. (1998). Way to solve the conflict. Increase productivity. 37 (Febuary- March): 31-33.
Keawkoonwong, T. (1987). Modern Education Administration. Bangkok: Thaiwatanapanit.
Nyani, Y. (2018). Buddhist Cardinal Principles for Peace and Harmony. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(1), 19-29.
P.A. Payutto. (2003). Leadership: Important to the Development of the Country. Bangkok: Thammasapha.
Phrakrunonthakitkosol (Sirichai Kokrathok). (2019). The Development of Change Management Model Toward Excellence of The Buddhist Institutions. Journal of MCU Nakhondhat, 6(1), 55-69.
Phrakrupalad Suwatthanasutakhun (Sophon Sobhano). (2014).The Buddhist Conflict Management in School Under the Office of Secondary Education. Dissertation Doctor of Philosophy. Graduate School. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Sanya khantidhammo Treesawat. (2018). A Model of Thai Sangha Administration in the Future. Journal of MCU Peace Studies, 6(1), 711-728.
Pinyonatthagarn, D. (2018). Mind and Enlightenment in Buddhism. Journal of MCU Buddhapanya Review, 3(1), 31-44.
Predeedilok, K. (1986). Organization Management Theory. Bangkok: Thana print.
Revilla, M.V. (1982). “Conflict Management Styles of Men and Women Administrators in Higher Education”. Dissertation Abstracts International.
Visalapon, S. (1991). Management conflict for creativity. Bangkok: love and live place.