การจัดการพฤติกรรมมนุษย์ตาม แนวจริตในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจัดการพฤติกรรมมนุษย์ 2) ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจริตในพระพุทธศาสนา 3) บูรณาการการจัดการพฤติกรรมมนุษย์ตาม แนวจริตในพระพุทธศาสนา และ 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการจัดการพฤติกรรมมนุษย์ ตามแนวจริตเชิงพุทธบูรณาการ” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร เก็บข้อมูลจากการ วิเคราะห์เนื้อหาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฏีกา อนุฏีกา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงผู้ที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสวนากลุ่มกับนักศึกษาผู้เข้าปฏิบัติธรรมธรรมที่วัดเขา บรรจบ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยปรับด้วยการ อบรม การพัฒนา หรือตามกระบวนการจิตวิทยา การวางเงื่อนไข การควบคุมตนเองและสิ่งแวดล้อม และ การเรียนรู้ด้วยปัญญาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามที่มุ่งหมาย 2) ในพระพุทธศาสนาจัด พฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 6 จริต คือ ราคะ โทสะ โมหะ สัทธา พุทธิ และวิตกจริตโดยใช้หลักธรรมในการ ปรับจริตเพื่อประโยชน์ต่อการบรรลุธรรม 3) การใช้กระบวนการทางจิตวิทยาและหลักธรรมในพระพุทธ- ศาสนาที่ตรงกับจริต บูรณาการกันสามารถปรับจริตได้ โดยกระบวนการปรับเปลี่ยนจริตต้องอาศัยบุคคลเวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม และอุปกรณ์ ทุกส่วนต้องความสัมพันธ์กันและมีระดับเพียงพอและเหมาะสม จนสภาพจิตเกิดปฏิกิริยาการตื่นรู้และมีพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกเปลี่ยนไปสู่ความเป็นบัณฑิตใน พระพุทธศาสนา 4) องค์ความรู้ที่ได้รับการสังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจริต ในพระพุทธศาสนา คือ หลักธรรมตรงตามจริต ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยเหมาะสม และลงมือปฏิบัติจนเกิดการ ตื่นรู้ เป็นยาปรับจริต เปลี่ยนพฤติกรรม เรียกว่า “CAC Model”
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aimsubhasidt, S. (2010). Behavior and Behavior Development. Bangkok: Odeanstore.
Indharattana, S. (2009). Buddhist Psychology. Bangkok: Suandusit University.
Kaewkamnued, D. (2010). Social and Human Behavior in The Social. Bangkok. Sukhothai Dhamathirat University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). The Tipitaka in Thai Version. Bangkok: MCU Press.
Mahamakutrajavidyalaya University. (2011). Visuddhimaka in Thai Version. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.
Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2015). Buddhist Dictionary Dharma edition. Bangkok: Phlidhama Press.
Suwansang, K. (1999). Principle of Psychology. Fourth Edition. Bangkok: Aksornpittaya.
Suwansang, K. (1999). Principle of Psychology. Fourth Edition. Bangkok: Aksornpittaya. Sritong, R. (1999). Human Behavior and Personality Development. Bangkok: Thirdwave Education Ltd.
Udomthammanuparb, M. et al. (2006). Human Behavior and Self Development. Bangkok: Suandusit University.
Freud, S. (1920). A General Introduction to Psychoanalysis. New York: Boni and Reveright.
James, W. (1890). The Principles of Psychology. New York: Dover Publications.
Koffka, K. (2013). Principles of gestalt psychology. London: Routledge Publishers.
Maslow, A. (1970). Motivation and Personnality. New York: Harper and Row Publishers.
Roger, C.R. (2003). Client-Centered Therapy: Its Current Practice. Implication. and Theory. London: Constable & Co.
Watson, J. B. (1913). Psychology as the behaviorist views it. Psychological Review 20 (2), 158-177.
Wundt, W.M. (1969). Principles of physiological psychology. Cambridge: Harvard University.