รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

Main Article Content

Phramaha Suttinart Rangsitsawat
Amanune Dajchaisre

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติศาสนกิจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างเชิงคุณภาพกับเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research) แบบการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) และเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์(Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 รูป การสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) จำนวน 9 รูป/คน และการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูป/คน ซึ่งถือเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม (Field Work) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และแบบตรวจสอบร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติศาสนกิจของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน พบว่ามี 6 ด้าน คือ ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอน ด้านกิจกรรมการสอน และด้านการวัดและประเมินผล  2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ได้แก่ หลักธรรมที่นำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาสมรรถนะ คือ กัลยาณมิตรธรรม  7 ประการ งานของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 6 ด้าน และสมรรถนะการปฏิบัติงาน 4 กลุ่ม คือ สมรรถนะทั่วไป สมรรถนะส่วนตน สมรรถนะการจัดการความรู้ และสมรรถนะการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีสมรรถนะย่อยกลุ่มละ 3 รวมทั้งหมด 12 สมรรถนะ  3. สำหรับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ส่วนงานที่เกี่ยวข้องสามารถประยุกต์ใช้ “S.NART MODEL” เพื่อนำไปพัฒนาพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้มากที่จะนำไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย