การวิเคราะห์รูปแบบการขนส่งระบบมิลค์รันแบบให้บริการคลังสินค้า กรณีศึกษาผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตร

Main Article Content

Wanpen Pengsomboon
Ruampol Jantasart

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบต้นทุนการดำเนินการวิเคราะห์ความคาดหวังและความพึงพอใจในการให้บริการของการขนส่งระบบมิลด์รันทั้งแบบให้บริการคลังสินค้าและไม่ให้บริการคลังสินค้าศึกษา 2) ศึกษาเพื่อให้หาแนวทางในการปรับปรุงรูปแบบการขนส่งระบบมิลค์รันโดยการประยุกต์ใช้คลังสินค้าในระบบมิลค์รัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยชิงสำรวจ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์อยู่ 2 ประเพทคือ 1) วิเคราะห์โดยแบบสอบถามและ 2) วิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีแรงกดดัน 5 ประการคือ (Five Forces Model) ซึ่งมีประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ใช้บริการระบบการขนส่งมิลค์รันแบบไม่ให้บริการคลังสินค้าและแบบการให้บริการคลังสิค้า โดยใช้แบบสอบภามทั้งหมด 30 ชุด โดยการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการศึกษา พบว่า 1) การวิเคราะห์ต้นทุนของการดำเนินงาน ต้นทุนของรูปแบบการขนส่งระบบมิลค์รันแบบให้บริการคลังสินค้าต้นทุนรวมในการดำเนินงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ร้อยละ 10; 2) ภาพรวมคุณภาพการให้บริการ ในมุมมองของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับต่ำค่าเฉลี่ยอยู่ที่ - 0.07 ความพึงพอใจด้านการนำคลังสินค้ามาประยุกต์ในระบบมิลค์รัน มีความพึงพอใจในระดับค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.97 .ในด้านรูปแบบการดำเนินการ และความพึงพอใจต่ำ ด้านต้นทุนการบริการคลังสินค้าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.33 ; 3) การวิเคราะห์ความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจโดยใช้ทฤษฎีแรงกดดัน พบว่า มีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจเกือบทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินธุรกิจท่ามกลางการใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาจากคู่แข่งขันในธุรกิจเดียวกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นควรที่จะมุ่งประเด็นในการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ ให้กับธุรกิจ โดยการใช้กลยุทธ์การเป็นผู้ให้บริการขนส่งมิลค์รันแบบให้บริการคลังสินค้าเป็นเพื่อนำมาเป็นจุดแข็งในการดำเนินธุรกิจต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย