การซ้อนคำและการเพิ่มพยางค์ของคำใหม่ที่พบในเว็บไซต์พันทิปดอตคอม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนหน่วยที่เกิดการซ้อนคำและลักษณะความหมายที่เกิดจากการซ้อนคำ และศึกษาจำนวนหน่วยที่เกิดการเพิ่มพยางค์และลักษณะของหน่วยขยายที่นำมาเพิ่มพยางค์ของคำใหม่ที่ปรากฏในกระดานสนทนาเว็บไซต์พันทิปดอตคอม ผลการวิจัยพบการซ้อนคำจำนวน 204 หน่วย การเพิ่มพยางค์จำนวน 140 หน่วย และการซ้อนคำร่วมกับการเพิ่มพยางค์อีก 8 หน่วย รวมทั้งสิ้น 352 หน่วย ด้านการซ้อนคำพบว่าจำนวนหน่วยที่เกิดการซ้อนคำมี 2-5 หน่วย มีความยาว 2-10 พยางค์ ลักษณะความหมายที่เกิดจากการซ้อนคำมี 4 ลักษณะ คือ 1) ความหมายแบบผลรวมของทุกหน่วย 2) ความหมายเชิงอุปลักษณ์ 3) ความหมายเน้นว่ามาก และ 4) ความหมายเท่ากับหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ด้านการเพิ่มพยางค์พบว่าจำนวนหน่วยที่เกิดการเพิ่มพยางค์มี 2-3 หน่วย มีความยาว 2-7 พยางค์ ลักษณะของหน่วยขยายที่นำมาเพิ่มพยางค์มี 3 ลักษณะ คือ 1) หน่วยขยายที่สื่อด้วยเสียง 2) หน่วยขยายที่เป็นคำไทยซึ่งความหมายไม่เกี่ยวข้อง และ 3) หน่วยขยายที่เป็นคำภาษาต่างประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กาญจนา นาคสกุล. (2550). แบบการเสริมสร้อยในภาษาไทยและเขมร. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 24, 150-181.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2526). คำซ้อนในภาษาไทยสมัยสุโขทัย. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(ฉบับพิเศษ), 59-81.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2527). คำซ้อนในภาษาไทยสมัยอยุธยา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(1), 75-120.
ฉายศิริ พัฒนถาวร. (2551). การวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในการตั้งกระทู้ของกระดานสนทนา: กรณีศึกษา www.pantip.com (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002943
ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2528). การซ้อนคำในกฎหมายตราสามดวง. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 2(1), 25-41.
ธงชัย แซ่เจี่ย. (2560). “คำซ้อนเพื่อเสียง” จะยังเป็นคำซ้อนอยู่หรือไม่ : บททบทวนจากการศึกษาเอกสารทางวิชาการ แบบเรียน และแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติวิชาภาษาไทย. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 30(3), 108-116.
ธีรนุช โชคสุวณิช. (2542). คำซ้อนในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 16, 75-93.
นววรรณ พันธุเมธา. (2552). หนังสืออุเทศภาษาไทย ภาษาไทยน่าศึกษาหาคำตอบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1903590
บรรจบ พันธุเมธา. (2514). ลักษณะภาษาไทย. พระนคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2548). ความหมายของคำประกอบ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 7-15 (พิมพ์ครั้งที่ 12) (น. 325-337). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ราตรี ธันวารชร. (2534). การศึกษาการซ้อนคำในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราตรี ธันวารชร. (2541). วิธีสร้างคำในภาษาไทย : การซ้อนคำ. วารสารอักษรศาสตร์, 27(1), 58-74. สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/jletters/vol27/iss1/5/
วรรณภา สรรพสิทธิ์. (2554). การสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยาในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2549). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2 : คำ การสร้างคำและการยืมคำ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ.
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2546). ความต่อเนื่องของปฏิสัมพันธ์ในห้องสนทนาไทย : การส่งผลต่อกันระหว่างการเชื่อมโยงความ การมอบผลัดและความเกี่ยวข้องของเรื่องที่สนทนา (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว. (2550). การซ้อนคำภาษาปาก. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29 (ฉบับพิเศษ), 156-173.
ณิศรา วาดี. (2565, 21 เมษายน). “ปาจิงโกะ” อุตสาหกรรม 5 ล้านล้าน ที่ถูกครอบงำโดยชาวเกาหลีใต้ในญี่ปุ่น. สืบค้นจาก https://www.blockdit.com/posts/62605a56ab2d98296e755039