สตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทสตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากตัวบทวรรณคดีสันสกฤตในหนังสือภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา บทความนี้ใช้แนวคิดบทบาทและแนวคิดวรรณกรรมกับสังคมเป็นกรอบในการศึกษา ใช้คำว่า "บทบาท" ในความหมายที่เป็นความคาดหวังที่สังคมฮินดูมีต่อสตรี มีรูปแบบการแสดงออก คือ การกระทำของตัวละครที่ไม่สัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคม พร้อมทั้งบทลงโทษที่ตัวละครต้องน้อมรับ อันเกิดจากพฤติกรรมที่อยู่นอกปทัฏฐานดังกล่าว นำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า สตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา มีจำนวน 8 เรื่อง ได้แก่ “เทวสมิตา” “อิศวรวรรมัน” “เทวทัตต์” “มณีกัณฐ์” “เทวยานีและกจะ” “อหลยา” “ศวรี” และ “ศิวเศขร” ประกอบด้วยตัวละครประเภทมนุษย์ 4 ตัว และประเภทอมนุษย์ 5 ตัว บทบาทของสตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายมี 2 บทบาท ได้แก่ 1) บทบาทในฐานะผู้ร้าย และ 2) บทบาทในฐานะชู้ ถือเป็นบทบาทเชิงลบของตัวละครสตรีในวรรณคดีสันสกฤต ซึ่งตัวละครสตรีที่เป็นมนุษย์มีบทบาทค่อนไปทางผู้ร้าย ใฝ่ในทรัพย์ ตามวิถีเยี่ยงโลกียวิสัยแห่งมนุษย์โลก ขณะที่ตัวละครสตรีที่เป็นอมนุษย์ไม่สนใจในทรัพย์สิน เพราะมีความบริบูรณ์พร้อมทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติตามสถานภาพอันเป็นทิพยสุข ทว่ากลับขาดแคลนความรักและความมั่นคงทางจิตใจ จึงมีบทบาทค่อนไปทางชู้ สตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายยังเป็นภาพสะท้อนมุมกลับของสตรีในสังคมอินเดียสมัยโบราณ ซึ่งไม่พึงยกย่องสตรีที่มากด้วยราคะ โลภะ โทสะ และโมหะ โดยเฉพาะสตรีที่เป็นชู้ นักบวชทุศีล และผู้ค้าประเวณี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กรุณา กุศลาสัย, และ เรืองอุไร กุศลาสัย. (2544). อินเดีย อนุทวีปที่น่าทึ่ง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศยาม.
กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
กุสุมา รักษมณี, เสาวณิต จุลวงศ์, และ สายวรุณ น้อยนิมิตร. (2550). ศักดิ์ศรีและความอับอายในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2562). วรรณคดีวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2562, 29 สิงหาคม). “กรรม” ในทัศนะฮินดู. มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_224307
ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว. (2559). คนธรรพ์วิวาห์และสยุมพร: เสรีภาพในการเลือกคู่ครองของสตรีอินดียโบราณ. ใน พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (บ.ก.), พลังผู้หญิง แม่เมีย และเทพ สตรี: ความจริงและภาพแทน. (น. 170-182). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2562). วรรณกรรมศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประจักษ์ สายแสง, และ เจือง ถิ หั่ง. (2560). ทวิภาวะ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 1-36.
ประเทือง ทินรัตน์. (2558). จากศกุนตลา ปาขยานัมและสาวิตรยุปาขยานัม มาเป็นบทละครพระราชนิพนธ์เรื่องศกุนตลาและสาวิตรี. ใน มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร (น. 202-234). กรุงเทพฯ : ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน, และ สมภาร พรมทา (บ.ก.). (2556). มนุษย์กับศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภิญโญ บุญทอง. (2523). บทบาทและฐานะสตรีในมหาภารตะ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2551). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2558). บทบาทของบุคคลในสังคมมหาภารตะ. ใน มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร (น. 85-91). กรุงเทพฯ: ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา ไอยรารัตน์. (2522). สิทธิและหน้าที่ของสตรีในวรรณกรรมสันสฤตที่ว่าด้วยธรรมศาสตร์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2527). อัปสร. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 1(1), 14-22.
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2563). ภารตนิยาย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ชนนิยม.
ศิริวรรณ วรชัยยุทธ. (2559). “แม่และเมีย” บทบาทของผู้หญิงในสังคมจีน. ใน พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ (บ.ก.), พลังผู้หญิง แม่เมีย และเทพสตรี: ความจริงและภาพแทน (น. 249-259). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สถิตย์ ไชยปัญญา. (2564). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สยาม ภัทรานุประวัติ. (2547). ลักษณะเฉพาะของนิยายสันสกฤต. ดำรงวิชาการ, 3(5), 191-207.
เสาวภา เจริญขวัญ. (2520). ประเพณีการแต่งงานของอินเดียในสมัยพระเวท (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนิสรา รัศมีเจริญ. (2561). ขอทานในภารตนิยาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(1), 173-207.
อุดม สมพร. (2522). โสเภณีในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุไร นาลิวันรัตน์. (2522). นางอัปสรในวรรณคดีสันสกฤต (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Buhler, G. (1886). The laws of manu. Oxford: Clarendon Press.
Levinson, D. J. (1959). Role, personality, and social structure in the Organization Setting. Journal of Abnormal Psychology, 58(2), 170-180.