พลวัตของวรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในมิติแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของวรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จำนวน 40 เรื่องในมิติของแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในสังคมวัฒนธรรมไทยเป็นแนวทางการศึกษาและการเทียบเคียง โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติของไทยในสมัยอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ทั้งหมด 4 แนวคิด ได้แก่ 1) เทวราชา 2) ธรรมราชา 3) พุทธราชา และ 4) พระจักรพรรดิราช วรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยปรากฏในวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของไทยในสมัยอดีตที่สำคัญทั้งหมด 9 แนวคิด ได้แก่ 1) เทวดาที่เดินดิน 2) ธรรมราชาที่เมตตาต่อผู้ยากไร้และอุปถัมภ์ทุกศาสนา 3) พระจักรพรรดิราชผู้ทรงบารมีแบบใหม่และครอบครองอิตถีรัตนะ 4) พระมหาชนกแห่งแผ่นดิน 5) ครูแห่งแผ่นดิน 6) พ่อแห่งแผ่นดิน 7) กษัตริย์ผู้เป็นนักพัฒนา 8) กษัตริย์แห่งการเกษตร และ 9) กษัตริย์แห่งความพอเพียง แนวคิดดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า จากเดิมที่พระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะสูงส่งได้ปรับเปลี่ยนให้ทรงมีความเป็นสามัญมนุษย์และใกล้ชิดกับประชาชน มุ่งเน้นการทรงงานและพัฒนาบ้านเมืองด้วยกำลังพระสติปัญญา วรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะพระองค์โดยสัมพันธ์กับพระราชกรณียกิจและบริบททางสังคมวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กฤษฎา ปานเทวัญ. (2562). กวีนิพนธ์โศกาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร: แนวคิดและกลวิธีการสร้างวรรณศิลป์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. (2542). ร้อยกรองคำฉันท์เพื่อสวดสดุดีทำนองสรภัญญะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
คณะกรรมการจัดงานโครงการ กวีเทิดพระเกียรติไท้ภูมิพล. (2539). กวีเทิดพระเกียรติไท้ภูมิพล: รวมผลงานและบทกวีเทิดพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2549). นบพระภูมิบาลบุญดิเรก: ลิลิตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี.
แคทรียา อังทองกำเนิด. (2562). อาร์คีไทพ์อวตาร: ปรากฏการณ์ทางเทพปกรณัมในศาสนาฮินดูและ พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จิตร ภูมิศักดิ์. (2547). สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2548). ความคิดเรื่อง “พุทธราชา” ในวรรณคดีไทย. ใน วรรณลดา: รวมบทความวิจัยและบทความวิชาการภาษาและวรรณคดีไทย (น. 15-56). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดินาร์ บุญธรรม. (2555). พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ธงชัย ดิษโส. (2547). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2542). ธรรมรัฐ ธรรมราชา. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาต กัณฑาทรัพย์. (2558). เทวราชาและธรรมราชาในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปิยนาถ บุนนาค, นกวลี ชูชัยยะ, และ กฤษฎา บุณยสมิต. (2554). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: พระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
พระปรัชญา อภิวํโส. (2542). ภูมิพลมหาราชคำฉันท์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ 1999.
พระศรีมโหสถ. (2561). โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลง โคลงอักษรสาม. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2560). วรรณคดีสันสกฤต: ต้นทางวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติของไทย. ใน โสรมสรวงศิรธิรางค์ วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น (น. 49-64). กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์.
มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (มปป.). พระจักรพรรดิราช. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.kids-d.swu.ac.th
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). 84 พรรษาในหลวงของปวงชน: รวมผลงานการประกวดวรรณกรรมร้อยกรองประเภทลิลิลิตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุทธ โตอดิเทพย์ (บ.ก.). (2560). มงกุฎฟ้า. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ยุพร แสงทักษิณ. (2537). วรรณคดียอพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
รัชนีกร รัชตกรตระกูล. (2560). โครงการเรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก: พลวัตของวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติในสื่อร่วมสมัย (รายงานวิจัย) กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2554). สยามรัฐร่มฉัตรแก้ว: รวมบทกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง. (2548). ใน ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย (น. 39-51). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
สถาบันไทยศึกษา. (2560). ร้อยมณีน้ำตา รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์. (2530). นวมินทรมหาราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร เฉลิมพระชนมพรรษาห้ารอบพระนักษัตร วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530. กรุงเทพฯ: วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์.
สวน มหาดเล็ก. (2539). โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. ใน วรรณกรรมสมัยธนบุรี(น. 277-296). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
เสาวณิต วิงวอน. (2538). เทวราชาและธรรมราชาในวรรณกรรมยอพระเกียรติ. ใน วรรณกรรม ศิลปะ-สดุดี (น. 76-87). กรุงเทพฯ: อักษรสมัย.
อธิชนัน สิงหตระกูล (บ.ก.). (2560). จุลสารลายไทยฉบับพิเศษ: ทวยราษฎร์รักบาทแม้ ยิ่งด้วยบิตุรงค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก https://thaitupamphlet.wordpress.com/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3NA0tc5gsOX4bDmIebhL89-8Hdn_Lt5x-YexClnK07zMzlVUEuWiVgbe8_aem_9HlTBJCR7KU0Z19CCJMQDw
เอนก มากอนันต์. (2561). จักรพรรดิราช คติอำนาจเบื้องหลังชนชั้นนำไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.