แนวคิดธัมมิกเศรษฐกิจในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ

Main Article Content

วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน
ปรียานุตร สุรินทร์แก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดธัมมิกเศรษฐกิจในทัศนะของพุทธทาสภิกขุในประเด็นของหลักการ เป้าหมาย และแนวทางปฏิบัติ โดยใช้หลักการตีความและอธิบายความด้วย ภาษาคน-ภาษาธรรม เป็นเครื่องมือในการอธิบายความคิดของพุทธทาสภิกขุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการธัมมิกเศรษฐกิจต้องเป็นเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมที่แสดงออกถึงคุณค่า 3 ประการ คือ (1) เป็นเหตุแห่งความปกติ (2) ได้รับผลเป็นความปกติ และ (3) ไม่ทำลายธรรมชาติแห่งความปกติ 2) เป้าหมายธัมมิกเศรษฐกิจมีอยู่ 2 ระดับ คือ (1) เพื่อให้เกิดความถูกต้องของชีวิต เกี่ยวกับการเป็นอยู่ด้วยปัจจัย 4 ในการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อปัจเจกและสังคม (2) เพื่อการทำนิพพานให้แจ้งนั่นคือ ความสุข ความเต็มเปี่ยมของความเป็นมนุษย์ หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่หน้าที่ และความรักสากล 3) แนวทางปฏิบัติธัมมิกเศรษฐกิจ มี 2 ระดับ คือ (1) การดำเนินชีวิตโลกุตรธรรมในชีวิตประจำวันสำหรับปัจเจกชน (2) ระบบเศรษฐกิจธัมมิกสังคมนิยม หลักปฏิบัติสำหรับการจัดองค์กรทางเศรษฐกิจสังคม โดยให้เห็นแก่เพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตนเอง เป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิตมนุษย์และสังคมไปสู่เป้าหมายสูงสุดตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือนิพพาน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กุลลินี มุทธากลิน. (2539). การศึกษาวิเคราะห์การบริโภคแนวพุทธปรัชญา (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2549). พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสพัฒนาใหม่. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2531). ธัมมิกเศรษฐศาสตร์: ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สังคมของชาวพุทธ. กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พุทธทาสภิกขุ. (2521). ธรรมสัจจสงเคราะห์. ม.ป.ท.: ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2522). ธรรมะกับการเมือง. กรุงเทพฯ: ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2523). เมื่อธรรมครองโลก. กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.

พุทธทาสภิกขุ. (2526). อะไรคืออะไร.ธรรมโฆษณ์หมวดสี่ อันดับ 37 ค. บนพื้นแถบสีน้ำเงิน ชุดชุมนุมธรรมบรรยาย. กรุงเทพฯ: ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2531). สันติภาพของโลก. กรุงเทพฯ: ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2549ก). ปณิธาน 3 ประการ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พุทธทาสภิกขุ. (2549ข). พุทธทาสธรรม 11: เศรษฐศาสตร์พุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พุทธทาสภิกขุ. (2550). สรรนิพนธ์พุทธทาสว่าด้วยประชาธิปไตยและหัวใจเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2527). พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ . กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

อัญญดา แก้วกองกูล. (2546). ศึกษาเปรียบเทียบ: การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางศาสนาในทางการเมืองตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ และ มหาตมะ คานธี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Jackson, P. A. (2003). Buddhadasa: The Theravada Buddhism and modernist reform in Thailand. Bangkok: Silkworm Books.

Swearer, D. K. (Ed.). (1991). Me and mine. Delhi: Sri Satguru Publications.