เพลงเชิดนอก กับการพัฒนาทักษะการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก

Main Article Content

รณฤทธิ์ ไหมทอง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอการพัฒนาทักษะการบรรเลงระนาดเอก จากการฝึกฝนกลวิธีการบรรเลงเพลงเดี่ยวเชิดนอก ซึ่งเป็นการต่อยอดทางความคิดในเรื่องของการพัฒนาทักษะการบรรเลงจากการไล่มือขั้นพื้นฐาน สู่การต่อยอดพัฒนาในเรื่องของกลวิธีพิเศษต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเพลงเดี่ยว รายละเอียดในเพลงเดี่ยวเชิดนอกมีทำนองที่มีความหลากหลายทางกลวิธีพิเศษ อีกทั้งยังมีอิสระในการบรรเลง ผู้บรรเลงสามารถฝึกใช้แรงในการบรรเลงได้ตามเหมาะสม รวมถึงยังฝึกสติ สมาธิ ในการบรรเลง มีช่วงกำหนดลมหายใจเตรียมความพร้อมของสภาพร่างกายกล้ามเนื้อในส่วนที่ใช้บรรเลงในขณะนั้น จึงได้เกิดมุมมองทางความคิดผสมกับประสบการณ์การบรรเลงระนาดเอก ที่ต้องเสนอมุมมองของกระบวนการพัฒนาในการใช้กลวิธีพิเศษต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดคุณภาพในการบรรเลงระนาดเอกอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2546). อัตลักษณ์ของเพลงฉิ่ง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ภาควิชาดุริยางคศิลป์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญช่วย โสวัตร. (2531). คุณค่าของดนตรีไทย. ใน หนังสือที่ระลึกงานไหว้ครูและครอบดนตรีไทยประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศพิชญ์ แก้วกุลธร, วีระ พันธุ์เสือ, และมานพ วิสุทธิแพทย์. (2558). การศึกษาวิธีการประพันธ์ และวิธีการบรรเลงเพลงเดี่ยวระนาดเอกของพันโทเสนาะ หลวงสุนทร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 21(3), 201-219.

มนตรี ตราโมท. (2538). การบรรเลงเดี่ยว. ใน สูจิบัตรงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล กรมศิลปากรและสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย.

มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยางคสาส์น. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย.

มนตรี ตราโมท, และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพฯ: ไทยเขษม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สนามเสือป่า พระราชวังเขตดุสิต.

ราชบัณฑิตยสภา. (2560). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สันติ อุดมศรี, และจรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2564). ฉิ่งมุล่ง: ปรากฏการณ์วิทยาทางดนตรีไทยและการเปลี่ยนผ่านทางสภาวะความรู้สึกของนักระนาดเอก. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8(2), 168-185.

สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.