ภาพแทน “ร้านหนังสือ” ในนวนิยายเรื่องร้านหนังสือ 24 ชั่วโมงสุดท้าย ของกิตติศักดิ์ คงคา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนของ “ร้านหนังสือ” จากนวนิยายเรื่องร้านหนังสือ 24 ชั่วโมงสุดท้าย ของกิตติศักดิ์ คงคา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร เน้นตีความจากตัวบท อาศัยทฤษฎีด้านวรรณกรรม และแนวคิดเกี่ยวกับภาพแทนมาช่วยอธิบายข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้เขียนสร้างภาพแทนของร้านหนังสือไว้ 2 ลักษณะ คือ 1) ภาพแทนของพื้นที่แห่งความคาดหวัง และ 2) ภาพแทนของพื้นที่การหลบหลีก ส่วนกลวิธีการนำเสนอภาพแทนพบว่ามี 4 กลวิธี ได้แก่ 1) การนำเสนอผ่านการร้อยโครงเรื่องร้านหนังสือ 2) การนำเสนอผ่านอารมณ์ของตัวละครชนชั้นกลาง 3) การนำเสนอผ่านฉากที่ผสมผสานระหว่างความสมจริงและความมหัศจรรย์ และ 4) การนำเสนอผ่านการใช้ภาษาเชิงสัญญะ ภาพแทนต่าง ๆ สื่อให้เห็นอารมณ์ ความรู้สึกและการใช้พื้นที่ของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันผ่านตัวบทนวนิยายได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นการนำเสนอภาพแทนร้านหนังสือยังแสดงให้เห็นถึงอดีตที่ถูกเยียวยาของคนชนชั้นกลาง จากการใคร่ครวญถึงอดีตที่ไม่สามารถตัดขาดจากการดำรงอยู่ในปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2537). หลักเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องสั้นและนวนิยาย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กิตติศักดิ์ คงคา. (2564). ร้านหนังสือ 24 ชั่วโมงสุดท้าย. นครปฐม: 13357.
จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. (2556). การสร้างภาพตัวแทนครอบครัวในละครโทรทัศน์ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัฐกานต์ รสหวาน. (2561). การนำเสนอภาพตัวแทนก็อตซิล่าในภาพยนตร์ฮอลลีวูดกรณีศึกษา Godzilla 2014 (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พัชราภรณ์ เรืองทอง. (2561). ภาพแทน “ชาวเขา” ในภาพยนตร์ไทย. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2561 (น. 84-96). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วันชนะ ทองคำเภา. (2550). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน.
อลงกรณ์ ศรีประเสริฐ. (2553). พื้นที่, เวลา และการเปลี่ยนแปลง (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิสริยา อ้นเงิน. (2560). ภาพตัวแทนของข้าราชการในละครโทรทัศน์ (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.