ถ้อยคำนัยผกผันที่ใช้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กกรณีข่าวรักสามเส้าในวงการบันเทิงกับการระรานทางไซเบอร์: การศึกษาตามแนว วัจนปฏิบัติศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและหน้าที่ของถ้อยคำนัยผกผันที่ใช้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กกรณีข่าวรักสามเส้าในวงการบันเทิงตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 - กันยายน 2562 จำนวน 258 ถ้อยคำ ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กใช้ถ้อยคำนัยผกผัน 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การกล่าวถ้อยคำที่สื่อความหมายขัดแย้ง 2) การกล่าวแบบเสียงสะท้อนกลับ 3) การกล่าวถ้อยคำที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่สมเหตุสมผล และ 4) การกล่าวเน้นให้เกินจริงอย่างมาก โดยนัยผกผันเหล่านั้นใช้เพื่อประชดประชัน ระบายความรู้สึก ล้อเลียน และสร้างความขบขัน ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กต้องการแสดงความคิดเห็นไปยังบุคคลที่ปรากฏในข่าว ส่วนหน้าที่ด้านการสร้างความขบขันเป็นหน้าที่ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กต้องการแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้ใช้เฟซบุ๊กด้วยกัน หน้าที่เหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นทัศนคติด้านลบของผู้ใช้เฟซบุ๊กต่อบุคคลในข่าว ซึ่งนับเป็นการการระรานทางไซเบอร์ด้วย
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน