ภูตสังขยาในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ภูตสังขยาและแนวคิดของการนำภูตสังขยามาใช้แทนตัวเลขในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์ซึ่งเป็นคัมภีร์โหราศาสตร์ที่ประพันธ์ขึ้นด้วยภาษาสันสกฤตที่สำคัญเล่มหนึ่ง โดยศึกษาจากคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์ฉบับบรรณาธิการโดยเทวจันทร์ ฌา เฉพาะเนื้อหาส่วนที่ว่าด้วยเรื่องพระเคราะห์ ทศา และนรลักษณ์ จากอัธยายะที่ 1-3, 47-65, 75 และ 81-82 ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้ภูตสังขยาเพื่อบ่งบอกอายุของเจ้าทศา, ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณหาระยะการเสวยแทรกอายุทศา, เลขราศีที่เป็นเจ้าทศาสำหรับระบบทศาราศี, จำนวนองศาในราศีต่าง ๆ ที่ทำให้พระเคราะห์ได้ตำแหน่งคุณภาพ และขนาดความยาวของใบหน้า ซึ่งล้วนแต่เป็นเนื้อหาส่วนที่สำคัญของคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์ ส่วนลักษณะของการใช้ภูตสังขยาที่พบมีทั้งสิ้น 4 ลักษณะ ได้แก่ การใช้ภูตสังขยาเพียงศัพท์เดียว, ภูตสังขยาสองศัพท์สมาสกัน, ภูตสังขยาสมาสกับปรกติสังขยา, และภูตสังขยาสมาสกับคำว่า ยุชฺ สำหรับแนวคิดของการนำภูตสังขยามาใช้แทนตัวเลขพบว่า ภูตสังขยาส่วนใหญ่เป็นคำนามที่มีความเกี่ยวพันกับแนวคิดด้านปรัชญา คติความเชื่อทางศาสนา และศาสตร์ความรู้ของอินเดียอย่างลึกซึ้ง
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน