ตลาดโบราณในฐานะเวทีการเล่าเรื่องทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ตลาดโบราณใครใคร่ค้าค้า อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

อรอุษา สุวรรณประเทศ
ณัฐพร ไข่มุกข์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเล่าเรื่องทางวัฒนธรรมในการนำเสนอภาพลักษณ์ชุมชนของตลาดโบราณใครใคร่ค้าค้า อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตามแนวการศึกษาแบบเทียบกับละครของเออร์วิ่ง ก๊อฟแมน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาจากทั้งเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนามตามระเบียบวิธีทางคติชนวิทยา โดยมีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 มิถุนายน 2562 ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนใช้ตลาดโบราณเป็นเวทีการเล่าเรื่องทางวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ของชุมชน 3 ประการ ได้แก่ 1) ความเป็นเมืองเก่า 2) ความเป็นชุมชนที่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย และ 3) ความเป็นชุมชนที่มีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม หากพิจารณาในบริบทการท่องเที่ยวร่วมสมัยจะเห็นได้ว่า ตลาดโบราณใครใคร่ค้าค้ามิได้เป็นเพียงแค่ตลาดนัดที่เปิดพื้นที่ให้คนในชุมชนนำสินค้ามาค้าขาย แต่ยังเป็นเวทีในการเล่าเรื่องทางวัฒนธรรมเพื่อบอกกล่าวถึงความเป็นตัวตนของคนในชุมชน การจัดให้มีตลาดโบราณใครใคร่ค้าค้าอย่างต่อเนื่องจึงนับว่ามีความสำคัญทั้งในแง่การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและการนำเสนอภาพลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่มรดกโลกอีกด้วย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ