ผลการใช้หนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่องการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลี เพื่อพัฒนาการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลีของผู้เรียนระดับต้น

Main Article Content

กาญจนา สหะวิริยะ
ณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่องการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลี เพื่อพัฒนาการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลีของผู้เรียนระดับต้น 2) ศึกษาผลการใช้หนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่องการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลี เพื่อพัฒนาการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลีของผู้เรียนระดับต้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้หนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่องการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลี เพื่อพัฒนาการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลีของผู้เรียนระดับต้น กลุ่มตัวอย่างผู้เรียนภาษาเกาหลีระดับต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินคุณภาพของหนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริม 2) หนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริมฯ 3) แผนการสอนที่เรียนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริมฯ 4) แผนการสอนที่เรียนแบบปกติ 5) แบบวัดความสามารถการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลี 6) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยหนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริมฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพและประสิทธิภาพของหนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริมฯ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.95/80.25 2) ผลการใช้หนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริมฯ พบว่า คะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 92.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.70 และคะแนนหลังเรียนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.57 3) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยหนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริมฯ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กอบกุล มาเวียง. (2545). การเปรียบเทียบการสอนภาษาเกาหลีระหว่างการสอนที่ใช้สื่อผสม (การฟังกับการดู) กับการสอนที่ใช้สื่อเดียว (การฟังหรือการดูอย่างเดียว). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กาญจนา สหะวิริยะ, และณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา. (2564). การพัฒนาหนังสือแบบฝึกทักษะความจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่องการเขียนตัวอักษรภาษาเกาหลีเพื่อผู้เรียนระดับต้น. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

จิตราภรณ์ ชัยเฉลิมศักดิ์, และวิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2555). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2562, จาก http://wiwatmee.blogspot.com/2012/09/1.html

ชูชาติ มงคลเมฆ. (2553). การเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติดนตรีสากลและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ มีครูแนะนะกำกับการศึกษาวีดิทัศน์ด้วยตนเอง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ณัฐนันท์ คงประพันธ์. ครู ค.ศ.1 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลีภาคใต้. (7 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

นงลักษณ์ มีแก้ว, สุรเดช เอ่งฉ้วน, และวัชรี เกษพิชัยณรงค์. (2557). Augmented Reality Technology (AR) เมื่อเทคโนโลยีสามารถเชื่อมโลกเสมือนมาบรรจบกับโลกเสมือนมาบรรจบกับโลกของความจริงและการประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา. จุลสารนวัตกรรม, 9(34), 8-16.

นฤเทพ สุวรรณธาดา. (2556). การวิเคราะห์การเรียนรู้รูปแบบผสมผสาน โดยใช้สื่อการเรียนการสอน แบบโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 7(1), 115-121.

บุษบา ชูคำ. (2550). ผลของการใช้บทเรียนการ์ตูนคณิตศาสตร์แบบ E-Book เรื่องโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยธิดา สังฆะโณ. (2550). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปการ์ตูนเรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.

พรทิพย์ ปริยวาทิต, และวิชัย นภาพงศ์. (2559). ผลของการใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(1), 9-17.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). สื่อเสริมการเรียนรู้โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) ชุดการจมและการลอย. นิตยสาร สสวท, 41(181), 28-31.

วรุณนภา ศรีโสภาพ, วิวัฒน์ มีสุวรรณ์, อรชลิดา พรหมปั้น, อังศุมาลิน แช่มสกุล, และภาณุวัฒน์ อยู่ดี. (2556). การพัฒนาหนังสือเสริมบทเรียนสามมิติด้วยเทคนิคภาพเสมือนผสานโลกจริง เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 24-32. สืบค้น 9 สิงหาคม 2562, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9298

ศุภกานต์ ผามั่ง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลีเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สุพรรณพงศ์ วงษ์ศรีเพ็ง. (2554). การประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสมือนเพื่อใช้ในการสอนเรื่องพยัญชนะภาษาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อุษา วงษาสม, และทัศนีย์ บุญเติม. (2553). ผลการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องระบบในร่างกายสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 4(3), 156-162.

Kandikonda, K. (2011). Using Virtual Reality and Augmented Reality to Teach Human Anatomy (Master’s thesis). Toledo, OH: The University of Toledo.

Lee, M. H. (2017). Hyo-yul-jeog-in gyo-su mo-hyeong gye-bal-eul wi-han han-gug-eo-gyo-jae-ui han-geul gyo-su dan-won yeon-gu [A Study of the Unit of Hangeul in Korean Textbook for Development an Efficient Teaching Model]. The Linguistic Science Society, 42, 81-105. [in Korean]

Oh, K. K. (2008). Gi-cho dan-gye-ui han-gug-eo ja-mo gyo-yug (Jolt-gih-chyong-jyae) - Tong-hab gyo-jae-leul jung-sim-eu-lo - [Teaching Korean Alphabets for Basic Level Learners of KFL - Focusing on ‘Integrated Textbooks' -]. Hanminjok Emunhak, 53, 181-208. [in Korean]

Vilkoniene, M. (2009). Influence of augmented reality technology upon pupils’ knowledge about human digestive system: The results of the experiment. US-China Education Review, 6(1), 36-43.

Yang, M. H. (2009). Oe-gug-in hag-seub-ja-leul wi-han han-geul ja-mo-wa bal-eum gyo-yug bang-beob-e dae-ha-yeo [A study on the standardization of the education of the Korean alphabet and its pronunciation]. The Society of Chung-Ang Lang. & Lit., 41, 5-27. [in Korean]